Wednesday, September 22, 2010

Thai Town San Francisco Update

การประชุมในวันเสาร์ที่ 18 กันยายนที่ผ่านมาเรื่องการก่อตั้งไทยทาวน์ในซานฟรานซิสโกแห่งใหม่ มีผู้เข้าประชุมจากหลายองค์กร อาทิคุณสุมิตร จารุเกศนันท์ (นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์จากเมืองไทย) ดร. สุขุม ไทรงาม(ทนายความคนไทยในเบย์แอ เรีย) คุณบุญเลิศ กาญจนสาย (ผู้สื่อข่าวจากเสรีชัย) คุณมนตรี ไชยศร (SERVE Foundation) คุณวันชัย สุวรรณชื่น คุณแดง อุปพันธ์ คุณยงยุทธ (สมาคมไทยในแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ) คุณอ้อย บัวไข คุณอัปสร เกรแฮมและเบญจวรรณ ภูมิแสน (สมาคมไทยอีสานนานาชาติ)
เราได้เจรจาถึงการบัญญัติ Mission Statement ข้อดีข้อเสียของจุดต่างๆที่ได้เลือกกันไว้และได้ก่อตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้น รายชื่อของคณะกรรมการและรายละเอียดต่างๆของการประชุมจะแจ้งให้ทราบในข่าว Thai Town San Francisco Bay Area ในครั้งต่อไป
New Thai Town Strategy Meeting on Saturday, September 18, 2010, Attending were Khun Sumit Charukesnant (real estate investor from Thailand), Dr. Sukhum Sai-ngarm (a Thai attorney), Khun Moonlert Karnchanasai from Sereechai Newspaper, Khun Montree Chaisorn (SERVE Foundation), Khun Wanchai Suwannachuen, Khun Dang Oopapun, Khun Yongyut, (Thai Association of Northern California), Khun Oy Buakhai and Khun Appasorn (Thai Isaan International Association) and other committed people that want to see the new Thai Town happen in the San Francisco Bay Area.
We worked developing our mission statement, discussed pros and cons of different sites and set up a special committee for the new Thai Town America located in the San Francisco Bay Area. Names of the people on this special committe and more details will follow in the next news on Thai Town American in the San Francisco Bay Area.















__________________________________________


Special video clips from Miss Universe 2010


Filmed by Thai videographer, commentary done in Thai


Miss Universe August 23, 2010...Final



Miss Universe 2010...August 19, 2010



Miss Universe 2010 (Unseen on TV) by NUNO



_______________________________________



ทางลัดของแบงก์ไทย

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

เวลานี้ที่เมืองไทยมีการพูดถึงการรายได้ของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีแหล่งที่มาจากการเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมประเภทต่างๆว่า เป็นรายได้ที่งดงามเป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะที่เห็นกันง่ายๆ และประจำ(วัน)เลยก็คือ การคิดค่าธรรมเนียมเมื่อมีการถอนเงินของลูกค้า จากตู้ถอนเงินอัตโนมัติ(เอทีเอ็ม) การชาร์จค่าธรรมเนียมจากการถอนเงินที่สาขาต่างเขต และการชาร์จค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน รวมถึงการชาร์จค่าธรรมเนียมในการทำบัตรเอทีเอ็ม

ค่าธรรมเนียมที่ว่านี้ กลายเป็นรายได้หลักหรือรายได้ส่วนใหญ่ของบรรดาธนาคารพาณิชย์ของไทย ซึ่งสามารถถูกทำให้เรียกได้ว่า แบงก์เหล่านี้เป็น เสือนอนกิน

รายได้จากจากค่าธรรมเนียมเหล่านี้ เพิ่มขึ้นอย่างเมามัน ทุกปี เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ติดอันดับหนึ่งในสามแห่งหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วมีรายได้จากค่าธรรมเนียมร้อยละ 28 ของรายได้รวมทั้งหมด แต่ปีนี้คาดว่ารายได้ประเภทเดียวกันนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49

ดูเอาเถิด!

ทราบข่าวจากเน็ตว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ จะพิจารณากรณีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของแบงก์ในช่วงปลายเดือนนี้ ร่วมกันสมาคมธนาคารไทย ที่มีนายธวัชชัย ยงกิตติกุล เป็นเลขาธิการสมาคม ต้อนรับผู้ว่าการแบงก์ชาติคนใหม่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่จะเข้ามาทำงานในเดือนหน้า(ตุลาคม)นี้

การตั้งค่าธรรมเนียมของแบงก์ไทยดูเหมือนจะสูงขึ้นตลอดมา ตามข้ออ้าง ต้นทุนที่เกิดจากการซื้อและติดตั้งระบบและเครื่องอิเลคทรอนิกส์ทั้งหลายแหล่

จริงๆแล้วย่อมหมายถึง การผลักดันภาระต้นทุนดังกล่าวนี้ ไปยังผู้ใช้บริการหรือลูกค้าของธนาคาร ในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับชาวบ้าน คนธรรมดาๆ ที่ จำเป็นต้องมี บัญชีออมทรัพย์ บัญชีสะสมทรัพย์เล็กๆ พร้อมด้วยบัตรเอทีเอ็มใบหนึ่ง ไว้กดถอนเงิน โดยที่มีไม่ต้องเสียเวลา ค่ารถ ค่าน้ำมันรถวิ่งไปยังสาขาธนาคาร

จากข่าวที่ทราบ ทางด้านผู้บริโภค หรือกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการของธนาคารบางส่วน อย่างเช่น เครือข่ายลูกค้าธนาคาร ที่มีนายเกริกไกร เดชธีรากุล เป็นผู้ก่อตั้ง ได้ร่วมหารือและพูดผลักดันเรื่องนี้ต่อแบงก์ชาติเช่นกัน ซึ่งก็ยังไม่ทราบว่าท้ายที่สุดแล้ว ผลจะออกมาอย่างไร

แต่ก็เชื่อกันค่อนข้างแน่นอนว่า ข้างแบงก์พาณิชย์ ผ่านสมาคมธนาคารไทยคงคัดค้านเรื่องนี้ ซึ่งก็ขึ้นกับแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังว่า จะเด็ดขาดกับการควบคุมการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของธนาคารไทยมากน้อยขนาดไหน เพราะเท่าที่เห็นที่ผ่านมา ปล่อยปละละเลยต่อเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน

จนแทบไม่น่าเชื่อว่า แบงก์พาณิชย์ไทยฮั้วกันตั้งค่าธรรมเนียม จนสามารถทำรายได้จากลูกค้าของธนาคารเป็บกอบป็นกำ โดยที่แบงก์ของรัฐ อย่าง ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอื่น ที่มีไว้โดยวัตถุประสงค์แทรกแซงตลาดเงินตลาดทุนและป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคมากจนเกินไป ก็ร่วมเป็นผู้กระทำต่อลูกค้าเหมือนเช่นธนาคารโดยทั่วไปดุจเดียวกัน

ผมเคยเขียนมาก่อนหน้านี้ ถึงข้อแตกต่างกรณีการเก็บค่าธรรมเนียมระหว่างแบงก์ไทยกับแบงก์อเมริกัน รวมถึงภาพตู้เอทีเอ็มเกลื่อนแทบทุกหัวมุมถนน กระทั่งในหุบเขาดงดอย ป่าปาล์ม ป่ายางพารา นาข้าว ชนิดหาดูได้ยากยิ่งในประเทศอื่น

เนื้อใหญ่ใจความก็คือ ธนาคารของอเมริกันนั้น ถูกควบคุม จากรัฐและระบบการแข่งขัน ไม่ให้มีน้ำหนักของรายได้ที่เกิดจากค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการเบิกถอน และรับฝาก มากจนเกินไป

พูดกันตรงๆก็คือ แบงก์อเมริกัน แทบไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมพื้นฐาน

เช่น การถอนและการฝากเงิน ทั้งผ่านเอทีเอ็มหรือถอนหน้าเค้าน์เตอร์ หากเป็นธนาคารเดียวกัน(ซึ่งลูกค้ามีบัญชีอยู่กับธนาคารแห่งนั้น) การเบิกถอน ฝาก หรือโอนเงินต่างเขต(รัฐ) ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียม ซึ่งหมายถึงว่า ลูกค้าของธนาคารสามารถทำธุรกรรมที่ใด (ในอเมริกา)ก็ได้ มียกเว้น ที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียม คือ การทำธุรกรรมข้าม(ต่าง)ธนาคาร แต่ค่าธรรมเนียมก็ไม่สูงมาก

การทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดา และเดบิตการ์ด(บัตรเงินสด) ที่มีตราวีซ่าและมาสเตอร์ ของทุกธนาคาร ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียม(ฟรี)

การแยกบัญชีเงินฝากออกมาเป็นอีกประเภท ได้แก่ เงินฝากสำหรับจ่ายเช็ค(Checking Account) ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยตามปกติ เพียงแต่อัตราไม่สูงเท่ากับบัญชีเงินฝาก(ตามระยะเวลา)ประเภทอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไปและป้องกันแบงก์เอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งตามปกติส่วนใหญ่ ผู้บริโภคหรือลูกค้า จำเป็นต้องจ่ายบิลล์ชำระค่าบริการต่างๆผ่านระบบธนาคารประจำแต่ละวันหรือแต่ละเดือนอยู่แล้ว

ปัจจุบันผลพวงจากการแข่งขันระหว่างธนาคาร ทำให้ประเภทบัญชีเงินฝากสำหรับจ่ายเช็คของธนาคารส่วนใหญ่ในอเมริกาไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จากการที่ลูกค้าเหลือยอดเงินสำรองไว้ในธนาคารต่ำกว่าจำนวนที่ธนาคารกำหนด นั่นคือ ธนาคารอเมริกันส่วนใหญ่กันมาใช้ระบบดึงดูดลูกค้าที่เรียกว่า Free Checking Account กันส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ว่าลูกค้าจะเหลือเงินฝากในบัญชีจำนวนเท่าใดก็ตาม ธนาคารจะไม่คิดค่าธรรมนียม ยกเว้นแต่เพียงลูกค้าสั่งจ่ายเช็ค หรือถอนเกินวงเงินที่มีอยู่ในบัญชีเงินฝาก ก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหรือถูกธนาคารปรับเอาโดยชอบธรรม(จากความไม่มีระเบียบวินัยของลูกค้าเอง)

กรณีที่ว่านี้ มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นระบบที่เชื่อมโยงถึงชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป ยิ่งในปัจจุบันที่มีการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์หรือคอมพิวเตอร์มากขึ้น คนส่วนใหญ่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้บริการของธนาคาร เพียงแต่ทำอย่างไร ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าธนาคารไม่เอาเปรียบลูกค้าจนเกินไป รวมทั้งทำให้การแข่งขันระหว่างธนาคารเกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่การผูกขาด หรือการฮั้วกันเหมือนในบางประเทศ

ความแตกต่างระหว่างธนาคารของไทยและธนาคารอเมริกันอีกอย่าง คือ การทำธุรกรรมของธนาคารในอเมริกา ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างธนาคารเป็นหนึ่งเดียว หรือพูดแบบบ้านๆ ก็คือ แบงก์อเมริกันไม่มีสาขาหรือทุกสาขาเหมือนกันหมด ไม่ว่าลูกค้าจะเปิดบัญชีที่สาขาไหน สามารถทำธุรกรรมได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องย้อนกลับไปสาขาเดิมที่เปิดบัญชีไว้เหมือนอย่างแบงก์ในเมืองไทย เช่น การปิดบัญชี ลูกค้าแบงก์อเมริกันสามารถปิดบัญชีที่สาขาใดของแบงก์ก็ได้

ขณะเดียวกัน ระบบอิเลคทรอนิกส์ แบงกิ้ง ในอเมริกา ทำให้ลูกค้าของธนาคารไม่ต้องพะวงกับการถือสมุดบัญชีเงินฝากเป็นเล่มไปธนาคาร แค่พกบัตรพลาสติค(เอทีเอ็มหรือเดบิตการ์ด)และบัตรประชาชน(I.D.)เท่านั้น ก็สามารถทำธุรกรรมได้ทั่วประเทศ โดยแทบไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ส่วนใหญ่ที่จะเสียก็คือ การทำธุรกรรมต่างธนาคารเท่านั้น

เรื่องนี้หากว่าไปแล้วแบงก์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองลูกค้าประชาชน น่าที่จะใส่ใจมานานแล้ว เพราะระบบอิเลคทรอนิกส์แบงกิ้งของไทยถูกพัฒนามานานและทันสมัยพอเพียงในการทำให้สาขาธนาคารเป็นเสมือนสาขาเดียวกัน ทั้งเมืองไทยเองก็น่าจะดำเนินการได้สะดวกกว่าอเมริกาเสียด้วยซ้ำ เพราะเป็นประเทศเล็ก ใช้กฎหมายเดียวกันทั้งประเทศ ขณะที่อเมริกายังมีความแตกต่างของการใช้กฎหมายในแต่ละรัฐ

หากที่ติดอยู่ ก็เป็นเหตุที่ทำให้เชื่อได้ว่า แบงก์ชาติไม่ใส่ใจและคงข้ออ้างของแบงก์พาณิชย์เรื่องต้นทุนการจัดการและการจัดหาระบบอิเลคทรอนิกส์ ที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งผลักภาระไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค

ทั้งๆที่หากหันไปใช้ ระบบหนึ่งสาขา(ที่สามารถทำได้ทันทีในขณะนี้)แล้ว จะช่วยประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าของธนาคารได้ชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน

เพียงแต่ข้อเสียก็คือ แบงก์พาณิชย์ จะสูญเสียค่าธรรมเนียมจากการโยกย้ายถ่ายเงินในแต่ละวันของลูกค้า ที่เคยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เป็นกำไรก้อนโต ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็ถือเป็นวิธีการหากินที่ง่ายเต็มที ต่างจากระบบธนาคารของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในอเมริกา

รายได้ของแบงก์โดยทั่วไปถ้าจะว่าไปแล้วมาจาก 3 ทางหลัก คือ ค่าธรรมเนียม ส่วนต่างดอกเบี้ยและวาณิชธนกิจ

ของแบงก์ไทยเรา มาจากทางแรกเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือก็เป็นส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย ขณะที่แบงก์อเมริกัน มีรายได้จากวาณิชธนกิจ เป็นหลัก ลองคิดดูก็แล้วกันครับว่าระบบมันพิลึกหรือเปล่า

ถามว่าแบงก์ชาติ และนายธนาคารทั่วไปทราบเรื่องเหล่านี้ไหม

คำตอบ ก็คือ ทราบชัดเจน!


____________________________________________________



นางสมจินต์ เปล่งขำ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก พร้อมด้วย ผู้อำนวยการ Thai Trade Center Los Angeles, Chicago และ ไมอามี่ เข้าร่วมสัมนา Social Media Training และ US Trade Policy จัดโดยสำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
สมจินต์ เปล่งขำ


________________________________________


คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความสุขความพึงพอใจ จะให้มากกว่าคนในประเทศที่ไม่มีความสุข

ไทยโฮมเพจ อัพเดต 1:57 UTC วันอังคาร 14 กันยายน 2010


คนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความสุขความพึงพอใจ
จะให้มากกว่าคนในประเทศที่ไม่มีความสุข

มูลนิธิการกุศล Charities Aid Foundation ในอังกฤษ
ศึกษาสำรวจเกี่ยวการให้หรือบริจาคและทำงานเพื่อการกุศลของประชาชนใน 153
ประเทศทั่วโลกและพบว่า การมีความสุขกับการให้
มีความเกี่ยวเนื่องกันมากกว่าความมั่งมีกับการให้
และประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีความสุขความพึงพอใจ
จะให้มากกว่าประชาชนในประเทศที่ไม่มีความสุข
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ติดอันดับหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประชาชนให้การกุศล
มากที่สุด สหรัฐอยู่อันดับห้า ศรีลังกาอยู่อัดับ 8 ลาวอยู่อันดับ 11
และไทยอยู่อันดับ 25

มูลนิธิการกุศลระหว่างประเทศ Charities Aid Foundation
ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในอังกฤษ และมีหน่วยงานอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก
จัดทำดัชนี The World Giving Index
รายงานผลการศึกษาสำรวจพฤติกรรมการให้หรือบริจาคและการทำงานเพื่อการกุศลใน
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรายแรก

การศึกษาสำรวจนั้น พิจารณาพฤติกรรมการให้เพื่อการกุศล 3 แบบ คือ
การบริจาคเงิน การให้เวลาในการทำงาน และการช่วยเหลือคนแปลกหน้า

ผลการสำรวจใน 153 ประเทศแสดงว่า ยิ่งคนเรามีความสุขมากเท่าใด
ยิ่งให้มากเท่านั้น และคนที่มีความสุข ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน
จะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้มากกว่าคนที่ไม่มีความสุข

จากการสำรวจนี้ ปรากฏว่า ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์
เป็นประเทศที่ประชาชนให้เพื่อการกุศลมากที่สุดในโลกเป็นอันดับหนึ่งเท่ากัน
โดยได้คะแนน 7.3 จากคะแนนเต็ม 10

อันดับสาม ก็มีสองประเทศ คือ แคนาดากับไอร์แลนด์
ตามด้วยสหรัฐกับสวิทเซอร์แลนด์ที่อันดับห้า เนเธอร์แลนด์มาอันดับเจ็ด
ส่วนอันดับแปด มีสองประเทศ คือ อังกฤษกับศรีลังกา และอันดับสิบได้แก่
ออสเตรีย และหวิดติดในสิบอันดับแรก คือ ประเทศลาว อยู่ที่อันดับ 11

สำหรับประเทศไทย อยู่อันดับ 25 เสมอกับ คูเวต นอร์เวย์ และลุกเซมเบิร์ก
ส่วนเพื่อนบ้านอื่นๆ ของไทยนั้น พม่าติดอันดับ 22
ฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซียอยู่ลำดับ 50 มาเลเซียอันดับ 76
และสิงคโปร์อันดับ 91

ทีนี้มาดูประเทศที่อยู่อันดับล่างๆ อินเดียกับตุรกีติดอันดับ 134
เวียดนามกับรัสเซีย อันดับ 138 และใน 10
ประเทศล่างสุดในดัชนีการให้ทั่วโลก มี กรีซ จีน บังกลาเทศ ปากีสถาน
และกัมพูชา รวมอยู่ด้วย

การจัดอันดับประเทศในรายงาน The World Giving Index นั้น
ยังแสดงให้เห็นภาพลึกที่น่าแปลกใจในบรรดาประเทศที่ประชาชนให้เพื่อการกุศล
มากที่สุดด้วย คือ ในบรรดาประเทศที่ประชาชนให้เพื่อการกุศลมาก 20
อันดับแรกนั้น ราวครึ่งหนึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลก
อย่าง สวิทเซอร์แลนด์ สหรัฐ และอังกฤษ แต่อีกราวครึ่งหนึ่ง อย่าง
ศรีลังกา ลาว เซียราเลโอน มอลตา เติร์กเมนิสถาน กียานา และกินี
เป็นประเทศกำลังพัฒนา

DR. John Low
ผู้บริหารมูลนิธิการกุศล Charities Aid Foundation กล่าวว่า
การให้เวลาและเงินทอง ช่วยเหลือผู้อื่นโดยสมัครใจอาสานั้น
นักสังคมศาสตร์เห็นว่า
เป็นเครื่องหมายของการมีโยงใยเกาะเกี่ยวผสมผสานอันแน่นแฟ้นในสังคม
ซึ่งเกือบทุกชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมล้วนมีธรรมเนียมในการให้ตามแบบของตน
ด้วยเหตุปัจจัยหรือสภาวการณ์ในสังคมต่างๆ กันไป และเห็นว่า
ระดับการให้นั้น แสดงถึงความเข้มแข็งของสังคมนั้นๆ

http://www.voanews.com/thai/news/people-living-in-contented-countries-gave-more-than-people-living-in-unhappy-ones-voathai-pa-13sep10-102825929.html


_________________________________________


1 comment:

Anonymous said...

ต้องการปรึกษาทนายความดร.สุขุม ไทรงาม มีเบอร์โทรที่CAเมื่อ 10กว่าปีที่แล้วแต่โทไปไม่ติด ไม่ทราบว่าจะติดต่อได้อย่างไร(มีปัญหาเรื่องกฎหมายในอเมริกา)ใครพอจะทราบรบกวนบอกด้วยนะครับ ขอบคุณมากเลยครับ