พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง ประสูติ ณ กรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 เป็นบุตรของพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการอาลักษณ์ กับท่านหยก ธิดาเศรษฐี เมื่อพระชนมายุได้ 12 ปี ได้เข้าถวายตัวเป็นฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ครั้นเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง ครั้นมีพระชันษา 25 ปี ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น หลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกได้ 1 ปี ท่านได้เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี ในตำแหน่ง พระราชวรินทร์ ในกรมพระตำรวจหลวง ได้ทรงเป็นกำลังสำคัญในการกู้บ้านเมืองหลายครั้งหลายคราว ตั้งแต่พระชนมายุได้ 32 พรรษา จนถึง 47 พรรษา ทรงกรำศึกสงครามมากมาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2301 ได้โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไปปราบเจ้าพิมาย พ.ศ. 2312 เป็นแม่ทัพไปตีเมืองกัมพูชา ตีได้เมืองพระตะบองและเมืองเสียมราฐ ด้วยความดีความชอบในการสงครามอย่างมากมาย ต่อมาใน พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระยายมราชและเจ้าพระยาจักรี ตามลำดับ และยังเป็นแม่ทัพในการรบกับพม่าอีกหลายครั้งเริ่มตั้งแต่การตีเอาเมือง เชียงใหม่คืนจากพม่า และได้เคยรบกับอะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพคนสำคัญของพม่าที่เมืองพิษณุโลก จนถึงกับแม่ทัพพม่าขอเจรจาหยุดรบเพื่อขอดูตัว และได้กล่าวยกย่องสรรเสริญว่า “ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข็มแข็งอาจสู้รบกับเราผู้เฒ่าได้ จงอุตสาห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” พระองค์ได้รับราชการในกรุงธนบุรีจนกระทั่งได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระมหากษัตริย์ศึก เพราะเหตุที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม ประชาชนจึงขนานพระนามว่า “สมเด็จเจ้าพระยา”
ครั้นปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดการจลาจลขึ้นในกรุง กล่าวคือ กรรมบันดาลให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระอัธยาศัยผิดปกติไปจากพระองค์เดิม ก่อความเดือดร้อนให้แก่ปวงชนทั้งภิกษุและฆราวาส พระยาสวรรค์กับพวกจึงคิดการกบฏ ควบคุมองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปขังไว้แล้วตนออกว่าราชการแทน จึงเกิดความกันระหว่างทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายกบฏกับฝ่ายต่อต้านกบฏ ขณะนั้นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกำลังไปราชการ ทัพอยู่ที่ประเทศกัมพูชา ทราบข่าวการจลาจลจึงรีบยกทัพกลับกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ราษฎรเป็นจำนวนมากต่างพากันชื่นชมยินดี ออกไปต้อนรับ ต่างขอให้ช่วยปราบยุคเข็ญ ครั้นมาถึงพระราชวัง ข้าราชการ ทั้งปวงก็พากันอ่อนน้อมแล้วอัญเชิญเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินธร มหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 นับเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
พระบรมสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่า สมเด็จพระอมรินทราพระบรมราชินี ทรงเป็นพระบรมราชินีองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมว่า นาค พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมทั้ง 42 พระองค์ และพระราชโอรสที่ประสูติในพระอัครมเหสี มี 9 พระองค์ ได้แก่
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
- สมเด็จเจ้าฟ้าชาย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชชายาในสมเด็จพระเจ้าตากสินและพระราชมารดาในเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชติ
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายฉิม ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงแจ่ม ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
- สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุ้ย ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระเยาว์
- สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำรงอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 28 ปีเศษก็เสด็จ สวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. รวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา
_________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะนั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาพระราชบิดาได้เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี จึงได้ย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ ณ บริเวณด้านใต้ของวัดระฆังโฆษิตาราม บ้านเดิมที่อัมพวาจึงว่างลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อุทิศที่ดินบริเวณบ้านเดิมนั้น สร้างเป็นวัด ชื่อ วัดอัมพวันเจดิยาร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม พระคุณเจ้าพระราชสมุทรเมธี ได้อุทิศที่ดินบริเวณวัดจำนวน 10 ไร่ ให้กับมูลนิธิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ให้ดำเนินการก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยมีพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นองค์ประธานมูลนิธิฯ เมื่อพระราชบิดาย้ายเข้ามารับราชการ ทรงได้เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆษิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อครั้งพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้โดยเสด็จพระราชบิดา ไปราชการสงครามด้วย เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระราชบิดาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระนาว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” จึงได้รับการสถาปนาพระยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เมื่อประชนมายุครบ 22 พรรษา ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงจำพรรษาอยู่นาน 3 เดือน (1 พรรษา) จึงทรงลาผนวช
ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนยศขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2349 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา จึงได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักร ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดีศรีสุนทรบรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณิณทราธิราช วัฒนากาศวราชวงศ์สมุทัยโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ธาดาธิบดีศรีสุวิบูลย์คุณอกนิฐฤทธิราเมศวรหันต์ บรมธรามิกราชาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิรัตนมกุฎ ประเทศคตามหาพุทยางกูรบรมบพิตร” หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 7 กันยาน พ.ศ. 2352
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า “สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี” ทรงพระนามเดิมว่า บุญรอด พระธิดาในพระเจ้าพี่นางเธอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวม 73 พระองค์ โดยประสูติในพระมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่
1. เจ้าฟ้าชายราชกุมาร สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4
3. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชาใน รัชกาลที่ 4 และได้ประสูติในเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก 3 พระองค์ ได้แก่
- 1. พระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
- 2. พระองค์เจ้าชายป้อม สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
- 3. พระองค์เจ้าชายหนูดำ สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเสด็จครองราชสมบัติอยู่จน พ.ศ. 2367 รวมครองอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 15 ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์จึงไม่ได้ทรงพระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ 3 วัน ก็เสด็จสวรรคต
[แก้ไข] บทสรุป
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรมด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้าน ศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรรม รวมถึงนาฎกรรม ดังจะเห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์เป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่น หลัง อุทยานพระบรมราชานุสาวรียืเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่างชัดเจนที่สุด และในอุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นที่ตั้งของ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้นด้วย
___________________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าชายทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในเจ้าจอมมารดาเรียม ภายหลังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระศรีสุราลัย พระบรมราชินี พันปีหลวง ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม
เมื่อปี พ.ศ.2349 พระราชบิดาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาอุปราชกรมบวรสถานมงคล จึงได้รับเลื่อนพระยศตามพระราชบิดาขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ต่อมาเมื่อพระชนมายุครบผนวชตามพระราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระอัยยิกาธิราชโปรดเกล้าฯ จัดพิธีผนวชให้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จออกในพิธีผนวชครั้งนี้ด้วยแม้จะมีอายุถึง 72 พรรษาแล้วก็ตาม ด้วยทรงเป็นหลานปู่พระองค์ใหญ่ในตอนนั้น เมื่อผนวชแล้วทรงเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม
ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 26 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระยศเจ้ากรมมีพระนามกรมว่า “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” ในปี พ.ศ. 2356 ด้วยพระปรีชาสามารถในหลายแขนงวิชาไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา อักษรศาสตร์ รัฐประสาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพาณิชยศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ทำให้เป็นที่วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้กำกับราชการโดยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และยังทรงนับหน้าที่พิจารณาพิพากษาความฎีกาแทนพระองค์อยู่เสมอ ทำให้ทรงรอบรู้ราชการต่าง ๆ ของแผ่นดินเป็นอย่างดี
ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จ สวรรคต ทรงมิได้มอบพระราชสมบัติให้กับพระราชโอรสพระองค์ใด เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมปรึกษาหารือแล้วลงมติว่า ควรถวายพระราชสมบัติให้แก่ พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สืบราชสมบัติแทนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระนาว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความรู้ความชำนาญทางด้านการปกครอง เป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยสนองพระเดชพระคุณในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาเป็นเวลานาน ครั้นเมื่อทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านพ่าง ๆ ที่นำความเจริญมาสู่ประเทศชาติเป็นเอนกอนันต์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมิได้สถาปนาผู้ใดขึ้นเป็นพระบรมราชินี คงมีแต่เพียงเจ้าจอมมารดา และสนมเอกเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวมทั้งสิ้น 51 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิมาน องค์ข้างตะวันตก เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุได้ 63 พรรษา 2 วัน รวมเวลาที่ทรงครองอยู่ในสิริราชสมบัติเป็นเวลา 26 ปี 8 เดือน
[แก้ไข] บทสรุป
พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศอย่างเอนกอนันต์ ด้วยเมื่อทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากประเทศมหาอำนาจตะวันตก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จนฐานะของประเทศดีขึ้นอย่างมาก ทรงติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้มีรายได้เข้าประเทศอย่างมาก ทำให้มีเงินในการปฏิสังขรณ์อารามต่าง ๆ ในส่วนการป้องกันประเทศ ทรงทุ่มเทพระวรกายปกป้องอิทธิพลที่เข้ามารุกรานประเทศทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นำความเจริญมาสู่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปวงชนชาวไทยจึงรวมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในบริเวณลานเจษฎาบดินทร์ ถ.ราชดำเนิน
_____________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ เด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17ตุลาคม พ.ศ. 2347 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินี
สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้ศึกษาวิชาการด้านต่าง ๆ ในการที่จะเป็นประโยชน์แก่การปกครองในอนาคต วิชาที่ทรงศึกษา ได้แก่ ตำราพิชัยสงคราม การฝึกหัดอาวุธ วิชาคหกรรม วิชาโหราศาสตร์โดยเฉพาะวิชาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงโปรดศึกษามากเป็นพิเศษ อีกทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีพระทัยสนใจในด้านพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ เมื่อพระชนมายุครบผนวช ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. 2367โดยมีองค์สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับพระฉายาว่า
“วชิรญาณภิกขุ” ทรงประทับ ณ วัดมหาธาตุอยู่นาน 3 วัน แล้วจึงเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
หลังจากนั้นอีกเพียง 2 สัปดาห์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถทรงเสด็จสวรรคต แต่มิได้ทรงตรัสมอบพระราชสมบัติให้กับผู้ใด พระบรมวงศานุวงศ์จึงประชุมและลงมติในที่ประชุมว่า ควรอัญเชิญ พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบเทนสมเด็จเจ้า ฟ้ามงกุฎจึงมิได้ทรงลาผนวช และทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลที่ 3 ทำให้ทรงมีเวลามากมายในการศึกษาหาความรู้ในวิชาการแขนงต่าง ๆ จนแตกฉาน โดยเฉพาะทรงมีโอกาสได้ศึกษาวิชาภาษาต่างระเทศจากบาทหลวง และมิชชันนารีที่เข้าเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ทำให้สามารถทรงพระอักษรและตรัสภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ ซึ่งพระองค์ได้ทรงนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการบริหารประเทศเมื่อเสด็จขึ้น ครองราชสมบัติแล้ว
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ สวรรคต ทรงตรัสเวนคืนพระราชสมบัติให้แก่บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชสำนักชั้น ผู้ใหญ ว่าจะเห็นควรให้ผู้ใดขึ้นครองราชสมบัติสืบแทนพระองค์ บรรดาข้าราชการและข้าราชสำนักจึงประชุม และมีมติอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ามงกฎขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตรย์องค์ ที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยขณะนั้นพระองค์ยังทรงผนวชอยู่จึงจำเป็นต้องลาผนวชในเวลานั้นเอง
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองสิริราชสมบัติ แล้ว ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” โดยมีฐานะเทียบเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่า สมเด็จพระเทพศิริน-ทรา บรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า รำเพย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ โดยประสูติจากพระอัครมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่
1.สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
2.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา
3.สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ประสูติเมื่อ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 เป็นต้นราชสกุล จักรพันธุ์สิ้นพระชนม์เมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2443
4.สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 เสด็จทิวงคตเมื่อ13 มิถุนายน พ.ศ. 2470
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 เนื่องจากเมื่อทรงเสด็จกลับจากเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทรงประชวรด้วยโรคไข้ป่า และเสด็จสวรรคตเมื่อเสด็จถึงพระบรมมหาราชวัง รวมมีพระชนมายุ 64 พรรษาระยะเวลาที่ทรงครองอยู่ในราชสมบัตินาน 17 ปีเศษ
[แก้ไข] บทสรุป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างมากในการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านดารา ศาสตร์และโหราศาสตร์ นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายประการ เป็นต้นว่า ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง สร้างถนนขึ้นมาใหม่หลายสาย เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร เป็นต้น ทางด้าน พระพุทธศาสนาทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งนิกายใหม่ ชื่อว่า “ ธรรมยุติกานิกาย” รวมถึงสร้างและ ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ เช่น วัดสระเกศ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างภูเขาทอง พระปฐมเจดีย์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐารามเป็นต้น ด้านวิทยาศาสตร์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา สร้างโรงกษาปณ์ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้แทนเงินพดด้วง
แต่ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในด้านนี้ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้น ณ บริเวณด้านหน้าของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
______________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” ได้ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ได้ทรงศึกษาด้านวิชาการและโบราณราชประเพณีต่างๆ นอกจากนั้นพระบรมชนกนาถทรงจ้างครูซึ่งเป็นสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษ ด้วยพระบรมชนกนาถเห็นว่าต่อไปในกาลข้างหน้าจะจำเป็นอย่างมาก รวมถึงพระบรมชนกนาถได้สั่งสอนวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น วิชารัฐศาสตร์ โหราศาสตร์เป็นต้น ด้วยพระองค์เองอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ป่าอย่างรุนแรง และเมื่อถึงพระบรมมหาราชวังก็ทรงเสด็จสวรรคต
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ สวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 เหล่าพระราชวงศ์เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้ประชุมกันและตกลงถวายพระราชสมบัติแก่รัชทายาทของพระองค์ คือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แต่ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา เท่านั้นเกรงว่าจะไม่สามารถทรงบริหารบ้านเมืองให้สู่ความสงบเรียบร้อยได้ กรมหลวงเทเวศน์ จึงเสนอว่า ขอให้พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปก่อนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อพระองค์ทรงผนวชและเมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ให้ทรงขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อในโอกาสต่อไป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี นับเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์จักรีที่ขึ้นครองราชย์ในขณะที่ทรงพระ เยาว์เช่นนี้ และเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เมื่อมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงทรงมีโอกาสศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ มากมาย และด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล ในปี พ.ศ. 2413 หลังจากที่ขึ้นครองราชย์ได้ 2 ปี ทรงได้เสด็จประพาสต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะไปเยือนประเทศสิงคโปร์และขวา (อินโอนีเซีย) ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จไปเยือนประเทศอินเดียและพม่า พระองค์ได้ทงพบเห็นและศึกษาแบบแผนการปกครองแบบอย่างตะวันตก และได้ทรงนำข้อดีและข้อเสียมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และนับเป็นครั้งแรกท่พระมหากษัตริย์ เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน และทรงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอัครมเหสี พระนามว่า “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ” ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 ในพระบรมมหาราชวัง มีพระนามเดิมว่า “พระองคืเจ้าเสาวภาผ่องศรี” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าคุณจอมมารดา เปี่ยม พระสนมเอก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 97 พระองค์ประสูติในพระอัครมเหสี มี 9 พระองค์
1. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุหรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2421 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 10 พรรษา
2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายวชิราวุธ ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2423 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าตรีเพชรตมธำรง ประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2424 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา
4. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถประสูติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2425 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463
5. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2428
6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์มในวันที่ประสูติ
7. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าห้าอัษฎางค์เดชากุล กรมหลวงนครราชสีมา ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 สิ้นพระชนม์ในวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ.2466
8. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑารุธราดิลก กรมขุนเพชรบูรรือินทราชัย ประสุติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466
9. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมขุนสุโขทัยธรรมธิราช ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรเนื่องด้วยทรงพระ ชราภาพมากและทรงตรากตรำพระราชภารกิจมากมาย พระองค์ทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวนที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษานับว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เพียบพร้อมไปด้วยพระคุณธรรม พระปรีชาสามารถในด้านต่าง ๆ มากมาย เป็นเอนกอนันต์
________________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี โปรดเรียกว่า “ลูกโต” ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะส่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาวิชาการต่างๆ ณ ต่างประเทศ โดยถือพระชนมายุเป็นเกณฑ์ในการเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ มีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่ประทับอยู่ที่แอสคอตนั้น มีข่าวแจ้งว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมารประชวรและเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลพระกรุณาขอสถาปนาสมเด็จพระ เจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธกรมขุนเทพทวาราวดี ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เพื่อรักษาโบราณขัตติยราชประเพณีและเพื่อป้องกันความไม่สงบของแผ่นดิน พระราชอิสริยยศที่ได้รับการ สถาปณานี้ทำให้ฐานะของพระองค์ในสายตาชาวต่างประเทศเปลี่ยนไปจากพระเจ้าลูกยา เธอพระองค์หนึ่ง เป็นองค์รัชทายาทที่จะสืบทอดราชบัลลังก์กรุงสยามในอนาคต
เมื่อแรกสถาปนา สมเด็จพระนางเจ้าวิคติเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้า ณ พระราชวังวินเซอร์ (Windsor Palace) เพื่อทรงแสดงความยินดีและพระราชทานเลี้ยงพระสุธารส สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจเสนอข่าวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรอยุ่เนื่องๆ แต่ก็ไม่ทำให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงหวั่นไหวไปกับพระราชอิสริยยสนี้ พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายที่ทรงมีความสง่างามแต่อ่อนน้อมอยู่เสมอ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงตระหนักถึงภาระอันยิ่งใหญ่ในอนาคต จึงทรงพระราชอุตสาหะในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างยิ่ง ทรงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองโดยตลอดเช่น เมื่อทรงว่างจากการเล่าเรียนก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการต่างๆ ในประเทศอังกฤษเช่น โรงงานอาวุธยุทธภัณฑ์ หรือเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะทรงนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ จึงมีโอกาศทอดพระเนตรการแสดงละครชั้นเยี่ยมของโลกซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัย มาก และทำให้ทรงมีงานอดิเรกอย่างหนึ่ง คือ การทรงพระราชนิพนธ์บทละครประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทละครพูดจนในที่สุดทรงมีความชำนาญและทรงพระปรีชาสามารถใน ศิลปะแขนงนี้
แต่ในเรื่องการศึกษาวิชาการที่แท้จริงนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะศึกษา วิชาทหารและได้เข้าศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์สต์ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิร์สต์แล้ว ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ที่นอร์ธแคมป์ ณ ออลเดอร์ชอต ในขณะนั้นได้เกิดสงครามระหว่างอังกฤษกับพวกดัทซ์เรียกว่า “สงครามบัวร์” ในแอฟริกาใต้ สมเด็จพระบรมโอราธิราชฯ ได้ทรงลงพระนามสมัครไปร่วมรบในแนวหน้ากับกรมทหารราบเบาเดอรัมที่ทรงสังกัด อยู่ แต่รัฐบาลอังกฤษไม่ยินยอมด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ดีทรงได้รัยการยกย่องจากชาวอังกฤษทั่วไปว่าทรงมีพระราชอัธยาศัย กล้าหาญ ซื่อตรงต่อหน้าที่และมิตรกองทัพเดียวกัน จากนั้นได้เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนปืนเล็กยาวที่เมืองไฮ้ท์ และทรงได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืน
ต่อจากนั้นได้เสด็จเข้าศึกษาต่อทางด้านวิชาการด้านพลเรือน ณ ไคร์สเชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดตามหลักสูดรที่ทางมหาวิทยาลัยจัดถวายเป็นพิเศษ สำหรับเจ้านายและขุนนางระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ ขณะที่ทรงศึกษาได้รับการยกย่องชมเชยจากพระอาจารย์และคณบดีว่า มีพระปรีชาสามารถเฉียบแหลมมาก
เมื่อพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ระหนึ่งคณบดีพาเจตและเรฟเวอเรนส์ ฮัสเซล พระอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ถวายคำแนะนำให้พระราชนิพนธ์หนังสือสักเล่มเพื่อ เป็นเกียรติยศที่เข้าศึกษา ณ สถาบันแห่งนี้ และเพื่อทดแทนการที่มิได้ทรงเข้าสอบไล่เพื่อรับปริญญาบัตรตามธรรมเนียมนิยม ของเจ้านายที่ทรงรับการศึกษาในศถาบันแห่งนี้ ซึ่งพระบรมโอรสาธิราชทรงเห็นชอบด้วยวิธีเช่นนี้ จึงพระราชนิพนธ์หนังสือประวัติศาสตร์ยุโรป เรื่อง THE War of the Polish Succession ทรงศึกษาอยู่ ณ มหาลัยออกซฟอร์ดอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2440 และเสด็จออกจากกรุงลอนดอนเพื่อนิวัตกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2445
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ สวรรคต เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยพระโรคทางเดินอาหาร ขัดข้อง พระกระยาหารผ่านไม่ได้ พระอาการกำเริบในวันต่อ ๆ มาจนเกิดพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทร เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพิมาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัตินาน 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองอยู่ในสิริราชสมบัตินาน 15 ปี ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว ที่ประสูติในสมเด็จพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
[แก้ไข] บทสรุป
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาชาติให้ก้าวขึ้นไปสู่ความเจริญทัดเทียมกับบรรดาอารย ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพระราชกรณียกิจทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ รวมถึงทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงรวมในกัน ถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระมหาธีรราชเจ้า” ทั้งยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสิ่งสำคัญมากมายเช่นทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงไตรรงค์ คำนำหน้านามสตรีและเด็กและ รวมถึงสร้างเมือง “ดุสิตธานี” เพื่อปูพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง
ด้วยสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ ทางสมาคมศิษย์เก่าวชิราวุธ ได้ทำการจัดสร้งพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้น ณ บริเวณลานด้านหน้าสวนลุมพินี
_______________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 ทรงมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร” แต่สมเด็จพระบรมราชนนีทรงเรียกพระนามว่า “เอียดน้อย”
เมื่อครั้นทรงโสกันต์แล้วทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ เมื่อเดินกรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา ทรงเริ่มรับการศึกษาในวิชาสามัญในวิทยาลัยอีตันซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมชั้น หนึ่งของประเทศอังกฤษ ในโรงเรียนแห่งนี้ได้กวดขันเรื่องระเบียบวินัยและมารยาทในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเช่นเดียวกัน ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ทรงหัดว่ายน้ำและเล่นกรรเชียงเรือ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยอีตันแล้ว ทรงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารที่เมืองวูลิช (ROYAL MILITARY ACADEMY COUNCIL) ทรงเลือกศึกษาวิชาทหารแผนกปืนใหญ่ม้า แต่ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 พระองค์จึงได้เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพิธีพระบรมศพ แล้วจึงเสด็จกลับไปศึกษาต่อเมื่อสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2456 ทรงเข้าประจำการ ณ กรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษที่เมืองอัลเดอร์ช้อต (ALDERSHOT) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2456 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2457 อันเป็นช่วงเวลาแห่งการซ้อมรบ โดยรัฐบาลอังกฤษตามความเห็นชอบของที่ประชุมกองทหาร (ARMY COUNCIL) และได้รับอนุญาตให้ทรงเครื่องแบบนายทหารอังกฤษสังกัดใน “L” BATTERY FOYAL HORSE ARTILLERY ทรงได้รับสัญญาบัตรเป็นนายทหารยศร้อยตรีกิตติศักดิ์ แห่งกองทัพอังกฤษ และในกาลที่พระองค์สำเร็จการศึกษาจากสถานทีนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งพระยศนายร้อยตรีนอกกอง สังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยโท และนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์
ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกขึ้นในยุโรป แต่เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ยังทรงศึกษาวิชาการทหารได้เพียงครึ่งๆ กลางๆ หากจะกลับมาเมืองไทยก็ยังทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองยังไม่ได้เต็มที่ ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจรูญศักดิ์ กฤษดากร ทรงจัดหาครูเพื่อสอนวิชาการเพิ่มเติมให้สมเด็จกพระเจ้าน้องยาเธอโดยเน้นวิชา ที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง คือวิชากฎหมายระหว่างประเทศ พงศาวดารศึก และยุทธศาสตร์การศึก แต่ต่อมาสงครามครั้งนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก ทั้งการหาครูมาถวายพระอักษรก็ลำบาก เนื่องด้วยนายทหารที่มีความสามารถต้องออกรบในสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระราชดำเนินกลับประเทศไทย แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอมีความประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับพระสหายชาว อังกฤษ หากแต่พระเจ้ายอร์ซที่ 5 ไม่สามารถทำตามพระราชประสงค์ เนื่องด้วยพระองค์เป็นคนไทยซึ่งเป็นประเทศเป็นกลางในสง-ครามสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอจึงจำเป็นต้องเสด็จกลับเมืองไทรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2458
ครั้นเมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษจอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งเป็นพระเชษฐาในพระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการ-ทหารบก แล้วเลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอกต่อมา เสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและต่อมาเลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ในระยะแรกที่ทรงเข้ารับราชการ พระองค์ประทับอยู่ ณ วังพญาไทกับพระบรมราชชนนี และนอกจากวังพญาไทแล้วสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถยังประทานบ้านท่าเตียนให้เป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง ด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทรงปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่ง หน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2460 จึงทรงลาราชการเพื่อทรงผนวช ณ อุโบสถวัดพระรีรัตน-ศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสร็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอลาผนวชและเสด็จเข้ารับราชการเป็นที่เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุราธิคุณตรัสขอหม่อมเจ้า หญิงรำไพพรรณีให้และประกอบพระราช-พิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมานพระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461
หลังจากที่ทรงอภิเษกสมรสแล้ว และรับราชการเป็นที่เรียบร้อย แต่พระองค์ที่ทรงประสบปัญหากับพระโรคเรื้อรัง จึงจำเป็นต้องลาราชการไปพักรักษาตัวในที่ ๆ มีอากาศเย็นตามความเห็นของคณะแพทย์ พระองค์เสด็จไปรักษาตัวที่ยุโรปในปี พ.ศ. 2463 ครั้นพระองค์ทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากนั้นอีก 4 ปี ทรงเข้ารับราชการอีกครั้งโดยพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า โปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อนพระยศขึ้นเป็นนายพันเอก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ทรงเป็นประธานในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี เพื่อปรึกษาหารือถึงเรื่องสืบราชสมบัติ และการทำพิธีพระบรมศพในคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ที่ประชุมได้พิเคราะห์พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว ที่ทรงแสดงไว้ในพระราชหัตถเลขานิติกรรม ใจความว่า
“การสืบราชสมบัตินั้นมีพระราชประสงค์ว่า หากมีพระราชโอรส (ขณะที่ทรงทำนิติกรรมนั้นพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีทรงพระครรภ์อยู่) ก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยฯ ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระมหากษัตริย์จะบรรลุนิติภาวะ แต่ถ้าไม่มีพระราชโอรส ก็ใคร่ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยฯ ทรงรัชรัชทายาท สืบสันตติวงศ์ตามราชประเพณี
จากข้อความในพระราชหัตถเลขาจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในสมเด็จพระอนุชาธิราชมาก แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยฯ ไม่เต็มพระราชหฤทัยจะรับรองราชสมบัติ ทรงอ้างว่ายังมีเจ้านายที่อาวุโสมากกว่า แต่ในที่ประชุมลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ไว้วางใจในพระองค์ และตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุดขทัยฯ ขึ้นครองราชย์ เป็นประมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงได้จัดตั้งคณะอภิรัฐมนตรีขึ้น เพื่อทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการแผ่นดินและราชการในพระองค์ ด้วยมีพระราดำริว่า “ไม่ทรงสันทัดในการแผ่นดินมากนัก” คณะอภิรัฐมนตรีนี้ประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ 5 พระองค์ คือ
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- สมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- พระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาท
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ได้มีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นทำให้พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็มิได้ทรงขัดเคืองในพระทัยแต่ประการใด แต่ด้วยมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ต้องประกาศสละราชสมบัติด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นไม่ได้เป็น ไปตามที่พระองค์ได้วางแผนให้เป็น คือ ต้องการมอบประชาธิปไตยให้กับคนไทยทุกคน เมื่อทรงเสด็จต่างประเทศเพื่อผ่าตัดพระเนตร และเมืองเสร็จสิ้นจากการผ่าตัดแล้ว ก็มิได้เสด็จกลับประเทศไทย ยังคงเสด็จประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งคณะรัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมาการขึ้นคณะหนึ่ง มีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ (จิตร ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการเดินทางไปเฝ้ากราบบังคมทูลเชิญพระองค์
พระองค์เสด็จกลับประเทศไทย การกราบบังคมทูลเชิญกลับประเทศไทยนั้นไม่เป็นผล ดังนั้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยประกาศสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ดังปรากฏความในเอกสารความว่า
(สำเนา)
ปปร
บ้านโนล
แครนลีประเทศอังกฤษ
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลัง ทหาร ในวันที่ 24มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภาย ใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้น เพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลัก นั้น เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศและ นโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเสื่อใสในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบ นั้น โดยมิได้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียแล้ว และเมื่อมีผู้ก่อการรุนแรงนั้นอ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้น เท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรโน้มตามความประสงค์ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือในการที่จะรักษาความสงบราบคาบเพื่อให้การเปลี่ยน แปลงอันสำคัญนั้นเป้นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองหาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพ ในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับจะพึงเห็นได้ว่าอำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการและผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการ จะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ตามคำร้องขอของข้าพเจ้าแต่ให้มีสมาชิกซึ่งตนเองเป็นผู้เลือกเอง เข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่ง 1 การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิก 2 ประเภทก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจาบุคคลที่รอบรู้การงาน และชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดเป็นพวกใดคณะใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทางให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอกแต่ฉะเพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นอกจานี้คณะผู้ก่อการบางส่วนได้มีความคิดที่จะเปลี่นแปลงโครงการณ์เศรษฐกิจ ของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวขึ้นกันเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้อง จนต้องมีการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของรัฐบาลซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้น
ทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลฯ กับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ 2 และแต่นั้นมาความหวังที่จะให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง
เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้กระทำให้มีเสรีภาพในการเมืองอัน แท้จริงและประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะดำเนินนโยบายอันสำคัญต่าง ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการกบฎขึ้น ถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย
เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูให้เข้ารูปประชา ธิปตัยอันแท้จริงเพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุ่มอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ ก็ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎรได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะเปลี่ยนหลักการและ นโยบายอันสำคัญ มีผลได้เสียแก่พลเมืองรัฐบาลก็ไม่ยินยอม และแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่นเรื่องคำร้องขอต่าง ๆของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้และละเอียดละออเสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วนภายในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รฐบาลได้ออกกฎหมายใช้วิธีปราบปรามบุคคลซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทาง การเมืองในทางที่ผิดยุตติธรรมของโลก คือไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับไม่เปิดเผยซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าไม่เคย ใช้ ในเมื่ออำนาจอันสิทธิขาดยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเองและข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ เลิกวิธีนี้ รัฐบาลก็ไม่ยอม
ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความ ยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเน้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้ แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดย แท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือให้ ความคุ้มครองให้แก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้น ไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์
อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดผู้หนึ่ง ให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไปตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิที่จะทำได้ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์
อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ใดก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศเพื่อ ประโยชน์ของข้าพเจ้าถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้า พึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบ หรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อ กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐานขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอให้ประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขความสบาย
(พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ปร
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
เวลา 13 นาฬิกา 55 นาที
หลังจากที่ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระประยูรญาติที่สนิทบางพระองค์ ได้เสด็จไปประทบที่วังเวอจิเนีย วอร์เตอร์ (VIRAINIA WATER) อันเป็นชนบทใกล้กรุงลอนดอน ครั้งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยโรคพระหทัยวาย รวมพระชนมายุได้ 48 พรรษา นับเวลาในการเสด็จครองราชย์ได้ 9 ปี
รัฐบาลอังกฤษได้อนุญาติให้ตั้งพระบรมศพเป็นกรณีพิเศษนาน 4 คืน และในวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน จึงได้อัญเชิญพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังสุสาน โกลเดอร์กรีน (GOLDERS GREEN) เพื่อถวายพระบรมศพ แต่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังคงเสด็จประทับอยู่ในอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระบรมอัฐพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับสู่ประเทศไทย เพื่อประดิษฐานร่วมกับสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช อันสมควรกับพระบรมราชอิสริยยศ และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทยสืบไป
[แก้ไข] บทสรุป
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์พระมหากษัตริย์ที่เลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมิได้ทรงทำการเปลี่ยนใดๆลงไป ด้วยทรงคำนึงว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อมีคณะราษฎร์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงเสียก่อน แต่ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระทัยแต่อย่างใด ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างเต็มพระทัย แม้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่มากมายก็ตาม แต่ด้วยทรงตั้งพระทัยในการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ดังมีพระราชดำรัสว่า
“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสลละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไปแต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
และด้วยพระมหากรุณาธิคุณในด้านการปกครอง รัฐบาลจึงได้มีการดำเนินการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวขึ้น ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารรัฐสภา
_______________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนีพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่องทรงพระราชสมภพ ทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมราชชนกไปต่างประเทศจนกระทั่งอายุได้ 3 พรรษา จึงได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทย และทรงเข้าประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกนาถทิวงคต ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้เสด็จกลับยุ โรปเพื่อศึกษาต่อในชั้นประถม ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาลงวันที่ มีนาคม พ.ศ. 2477 ทรงสละราชสมบัติแต่บัดนี้เป็นต้นมา และสภาผู้แทนราษฎรได้รับทราบแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (10 ธันวาคม 2475) มาตรา 9 ว่าด้วยการสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงสละราชสิทธิ์ที่จะทรงสมมติเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์องค์ที่1 ในลำดับพระราชสันตติดังได้แถลงไว้ในมาตราที่ 9 แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467
สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 แสดงความเห็นชอบในการที่จะอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้น ครองราชสมบัติต่อไปตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มาตรา 8 และ คณะรัฐมนตรีได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลโดยทางโทรเลข ให้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันและเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สละราชสมบัติ
จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ขึ้นครองราชย์ สืบสันตติวงศ์ ตั้งแต่วันและเวลานี้เป็นต้นไป
ประกาศมา ณ วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477
(ลงนาม)
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
จากประกาศ จึงได้ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจา-ตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ
ในระหว่างนี้ได้ทรงย้ายไปศึกษาในโรงเรียน นูแวล เดอลา ซืออีส โรมองค์ และยังคงมีพระอาจารย์ถวายอักษรไทย ณ พระตำหนังที่ประทับอยู่ ในครั้งนี้นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของพระมหากษัตริย์แล้ว ยังทรงศึกษาภาษาต่างประเทศอีกถึง 4 ภาษี คือ ภาษาฝรั่งเศล อังกฤษ เยอรมนี และสเปน ยิ่งไปกว่านั้นสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงส่งเสริมให้โปรดการกีฬา อาทิ ว่ายน้ำ ฮ็อกกี้ สกี สเกตน้ำแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัอานันทมหิดล การสะสมแสตมป์และรูปเรือรบ ทั้งยังโปรดศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่ทรงปล่อยเวลาว่างให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้ทรงเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปที่ได้มีโอกาสพบเห็น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษาการเสด็จนิวัตครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโคดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง”
ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎร์ในที่ต่าง ๆหลายแห่ง เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอรแลนด์
หลังจากเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยครั้งแรกแล้ว ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานการณ์ของโลกอยู่ในขั้นวิกฤต การคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศขัดข้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมิได้เสด็จนิวัติกลับสู่ประเทศไทย อีกเป็นเวลานาน เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ และเหลือเวลาอีกประมาณอีก 3 ปี ก็ทรงได้รับปริญญาเอก ก็ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง โดยเสด็จถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ 2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว
ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอรแลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราช กรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศมากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวัน ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2498
พระราชภารกิจของพระองค์เริ่มตั้งแต่ ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็น ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงครามโลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่จะต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย
อีกพระราชกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ คือการพระราชทานพระราชวินิจฉัยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่รัฐสภาได้ร่างขึ้น พร้อมกับได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และได้ทรงพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยูข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบ้างกลุ่มที่ อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับชาวจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า “เสี๊ยพะ” อยู่เนื่องๆเหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไป มากขึ้นจนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเด็จสำเพ็งครี้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื่นเต้นยินดีเป็นอย่าง ยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทรงใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่าง มโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง ตลอดระยะทางที่เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทไม่น้อยกว่า 3 กิโลเมตร ทรงไต่ถามทุกข์สุขและการทำมาหากินของผู้ที่เฝ้ารับเสด็จด้วยพระอิริยาบถและ พระพักตร์ที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณาเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่งแก่ผู้รับ เสด็จ จนเกิดความรู้สึกว่าทั้งชาวไทยและชาวจีนต่างก็เป็นประชาชนที่อยู่ใต้พระบรม โพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ซึ่งนับตั้งแต่บัดนั้นมาความร้าวฉานและความบาดหมางต่าง ๆ ระหว่างชาวไทยและชาวจีนก็หมดสิ้นไป ปัญหาซึ่งกำลังจะกลายเป็นความยุ่งยากทางการเมืองเป็นอันยุติลงได้ด้วยพระมหา กรุณาธิคุณในการเสด็จประพาสสำเพ็งครั้งนี้
[แก้ไข] พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศครั้งที่ 2
โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้
- วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐและพระบรมอัฐสมเด็จบุรพมหากษัตริ ยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
- วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องใน โอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางสวนดังนี้
“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว คามทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก้จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข้งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริง ๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป……..”
[แก้ไข] บทสรุป
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จะทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ไม่นานนักแต่ด้วยน้ำพระทัยที่ทรงห่วงใยใน พสกนิกร ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในขณะที่ทรงนิวัตกลับประเทศไทยนั้นทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการเยี่ยม พสกนิกรของพระองค์ทุกวัน โดยมิทรงได้หยุดพัก จนเกิดอาการประชวรขึ้น และเมื่อเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนในเวลาอันมิควรนั้น นำความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นทั่วแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรงมีพระอัธยาศัยที่เมตตาต่อประชาชนชาวไทยยิ่งนัก และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ปวงชนจึงรวมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นมาเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ สถาน ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม
____________________________________________
[แก้ไข] พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชะธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500
[แก้ไข] การศึกษา
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน ๒๔๗๖ หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ ๑ และมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ เดือน พฤศจิกายน ๒๔๘๑ ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๓ เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง ๒๐ พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
[แก้ไข] ครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศ ได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๙๒ โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อม ด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
[แก้ไข] พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ มีนาคม ๒๔๙๓ และเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ถนนสายห้วยมงคล”ให้แก่ “ลุงรวย”และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง ๒๐ กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการในปัจจุบัน
[แก้ไข] พระบรมราชาภิเษก
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตาม โบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๔๙๔ ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส ๔ พระองค์ดังนี้
๑ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
๒ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ ๒๘ กรกฏคม ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ ๒๘ กรกฏคม ๒๕๑๕
๓ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐
๔ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ ๔ กรกฏคม ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
[แก้ไข] ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา ๑๕ วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๙ เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
[แก้ไข] พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศ ชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า ๕๓ ปี แล้ว
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
[แก้ไข] พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม ๔๗ เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทาง ปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ ๒๕ ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติทุกวาระ
สมมุติฐาน ถ้าเลนส์อินฟาเรดสามารถทำให้เห็นแสงอินฟาเรดจริงน่าจะมีผลดั้งนี้ 1.มองผ่านเลนส์อินฟาเรดด้วยตาเปล่าจะมองเฉพาะแสงอินฟาเรดโดยไม่เห็นแสงอื่น 2.มองเลนส์อินฟาเรดผ่านกล้องดิจิตอลสามารถเก็บบันทึกภาพแสงอินฟาเรด
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อการศึกษาสัตว์บางชนิด เช่น งู ซึ่งจะมองเห็นแสงอินฟาเรด 2.เพื่อศึกษาแสงอินฟาเรด 3.เพื่อใช้กล้องดิจิตอลให้เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆนอกจากถ่ายภาพอย่างเดียว 4.เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ 5.ต้องการเห็นแสงอินฟาเรด
ตัวแปร ตัวแปรต้น = เลนส์ (กระดาษแก้ว) ตัวแปรตาม = แสงอินฟาเรด ตัวแปร ควบคุม = กล้องดิจิตอล
อุปกรณ์ 1.กล้องดิจิตอล 2.กระดาษแก้วสีแดง เขียว น้ำเงิน อย่างละ 1 แผ่น 3.กระดาษปอนด์ 4.กรรไกร 5.คัดเตอร์ 6.เทปใส 7.หนังยาง
__________________________________________
[แก้ไข] พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้ไข] เลิกทาส
ทาสตามกฎหมายโบราณ แยกทาสเอาไว้ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันคือ
1.ทาสสินไถ่
2.ทาสในเรือนเบี้ย
3.ทาสได้มาแต่บิดามารดา
4.ทาสท่านให้
5.ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
6.ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
7.ทาสเชลยศึก
ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลานานเพื่อใช้ทำกิจการต่าง ๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นทาสนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถือเป็นประเพณีแล้ว เจ้านายหรือขุนนาง เสนาบดีที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินมักมีทาสเป็นข้ารับใช้ที่มไอาจสร้างความเป็นไท แก่ตัวเอง พระองค์ทรงใช้พระวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไปพระองค์ทรงใช้ ระยะเวลาอันยาวนานกับการเลิกทาส ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชบริพารเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีที่จะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในการเลิกทาสในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาสโดยกำหนดเอาไว้ว่าลูกทาส ที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2441 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ 8 ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ 20 ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพ้นเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงระบุเรื่องโทษของการเป็นทางทั้งแก่ผู้ซื้อและผู้ขายเอาไว้ด้วย เป็นการป้องกันมิให้เกิดการกลับมาเป็นทาสอีก
ด้วยพระเมตตาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์เอง การดำริเรื่องการเลิกทาสนั้น พระองค์ทรงเริ่มการปลดปล่อยทาสตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระองค์ท่านใช้ความวิริยะอุตสาหะ ที่จะออกกฎหมายมาบังคับให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นนายเงิน ให้ปลดปล่อยทาสให้ได้รับอิสระเป็นไทแก่ตัว พระองค์ท่านต้องใช้เวลากว่า 30 ปี ในการที่จะไม่ให้มีทาสเหลือยู่ในพระราชอาราจักรของพระองค์ท่านอีก โดยที่มิต้องสูญเสียเลือดเนื้อในการเลิกทาสแม้แต่หยดเดียว ซึ่งแตกต่างกับต่างชาติที่เมื่อประกาสเลิกทาส ก็เกิดการคัดค้านต่อต้านขึ้นจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดขึ้น
[แก้ไข] การไปรษณีย์ การโทรเลขและการโทรศัพท์
ประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิดภาคีสหภาพสากลไปรษณีย์เมื่อปี พ.ศ. 2428 เพื่อนำวิทยาการทางการสื่อสารเข้ามาใช้ปรับปรุงแก้ไขการสื่อสารทางไปรษณีย์ ที่มีการก่อตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้มาได้ 2 ปีแล้ว โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ โดยใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทยจน การไปรษณีย์ได้ดำเนินมาจนทุกวันนี้
เมื่อการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้วสิ่งที่ตามมาก็คือ การโทรเลข การโทรเลขทำการทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยให้วิศวกรชาวอังกฤษ 2 นาย ช่วยกันประกอบขึ้นมา แต่ว่าการทำงานของท่านทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากเมืองไทยในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นทางกระทรวงกลาโหม จึงได้รับงานนี้มาทำเองซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการ ด้วยระยะทาง 45 กิโลเมตร พร้อมกันนี้ยังวางท่อสายเคเบิลไปถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเดินทางเข้าออก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโทรเลขขึ้นอีกสายหนึ่ง คือสายกรุงเทพฯ – บางปะอิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วเปิดดำเนินการได้ไม่นานก็ทรงโปรดให้สร้างต่อจนถึงพระ นครศรีอยุธยา เมื่อความเจริญทางโทรเลขมีมากขึ้นตามลำดับ ทรงโปรดให้ขยายเส้นทางออกไปโดยไม่สิ้นสุดอีกหลายสายและทรงโปรดเกล้าฯ ให้การไปรษณีย์ และโทรเลขรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข นับตั้งแต่บัดนั้นมา
เมื่อมีความเจริญทางไปรษณีย์และโทรเลขมากขึ้น การโทรศัพท์ก็ได้เริ่มขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมยังเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยกระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า โทรศัพท์ เข้ามาทดลองใช้ในปี พ.ศ. 2424 โดยการติดตั้งทดลองใช้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯ ถึงเมืองสมุทรปราการใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 3 ปี ก็เป็นอันสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2429 พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้ทั่วกันจนกระทั่งทุกวันนี้การสื่อสารแห่งประเทศ ไทยก็ได้ก้าวหน้าด้วยวิทยาการที่เริ่มต้นขึ้นจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญมาจนทุกวันนี้
[แก้ไข] ด้านการปกครอง
ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองจากเดิมที่ยึดการบริหารจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น การปกครองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับกาลสมัย โดยมอบหมายงานให้ละเอียดมากขึ้นด้วยการเพิ่มกรมต่าง ๆ ให้มีมากถึง 12 กรม
1. กรมมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
2. กรมพระกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตกและเมืองมลายู
การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้น ๆ ให้ได้ผลเต็มที่
3. กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เนื่องด้วยในขณะนั้นประเทศไทยมีการติดต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าขาย หรือการเจริญสัมพันธ์ไมตรีทางการทูต
4. กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
5. กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักาากฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีโปลิศหรือตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบและจับกุมผู้กระทำผิด มาลงโทษ
6. กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบันคือ มีหน้าที่ในการดูแล ควบคุมการเพราะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม
7. กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน และนำมาบริหารใช้ในงานต่าง ๆ
8. กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินคดีต่าง ๆ ที่เป็นทั้งคดีอาญา คดีแพ่งและควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน
9. กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการในกรมทหารบก ทหารเรือ และควบคุมดูแลส่วนที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทหาร
10. กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสั่งสอนอบรมพระสงฆ์ สอนหนังสือให้กับประชาชนทั่วไป
11. กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานช่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข เป็นต้น แม้แต่การสร้างทางรถไฟ
12. กรมมุรธธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือที่เกี่ยวกับงานราชการทั้งหมด
[แก้ไข] การพยาบาลและสาธารณสุข
พระองค์ทรงดำริที่จะสร้างโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นที่รักษาประชาชน ด้วยการรักษาแบบยากลางบ้านนั้นล้าสมัย ไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาด พระองค์ทรงแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัด สร้างโรงพยาบาลขึ้นทรงเล็งเห็นที่บริเวณริมคลองบางกอกน้อย เหมาะสำหรับการสร้างโรงพยาบาล ด้วยสามารถไปมาได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ ที่นั้น และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง ประเดิมการสร้างโรงพยาบาล เพื่อเปิดทำการรักษาแก่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า โรงพยาบาลวังหลัง เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 โดยมีสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่ยังไม่ทันเสร็จก็ทรงเสด็จทิวงคตเสียก่อน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลจากเดิมเป็น โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและด้วยพระองค์ได้บริจาคเงินในการก่อสร้างโรง พยาบาลแห่งนี้ถึง 56,000 บาท เพื่อเป็นการก่อสร้งตึกสำหรับสอนวิชาการแพทย์ และพระราชทานสิ่งก่อสร้างในงานพระเมรุพระศพของเจ้าฟ้ามาเป็นสิ่งปลูกสร้าง เรือนคนไข้ในโรงพยาบาลแห่งนี้
[แก้ไข] ด้านกฎหมาย
การชำระกฎหมายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นมาเพื่อให้มีความทันสมัย ให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากต่างประเทศมาดำเนินการให้
ในปี พ.ศ. 2451 มีกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อันเป็นลักษณะกฎหมายอาญาฉบับแรกที่นำขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ใหม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง พิจารณาทำกฎหมายประมวลอาญาแผ่นดินและการพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยพิจารณาความแพ่งและพระธรรมมูญแห่งศาลยุติธรรม แต่ยังมิทันสำเร็จดี ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นในปี พ.ศ. 2440 โดยมีพระเจ้าลูกเธอ กรมหลวงราชบุรีพิเราะฤทธิ์ ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกเฟอร์เมียมเป็นผู้อำนวยการ เมื่อสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใช้แล้ว บทลงโทษแบบจารีตดั้งเดิมจึงถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงในรัชกาลของพระองค์เอง เพราะมีกฎหมายใหม่เป็นบทลงโทษที่เป็นหลักการพิจารณาที่ดีกว่าเดิมและทันสมัย กว่าเดิมและทันสมัยกว่าด้วย
[แก้ไข] ปรับปรุงการขนส่งและการสื่อสาร
ในปี พ.ศ. 2431 โปรดให้คณะเสนาบดีและกรมโยธาธิการสำรวจ เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟ จกกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้าเมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศ แล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่ยังจังหวัดใหญ่ทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้ เสร็จสิ้นเมือปี พ.ศ.2434 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระ ฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างทางรถไปครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็น “รถไฟหลวง” แห่งแรกของไทย
[แก้ไข] การไฟฟ้า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล เมื่อทรงมีโอกาสไปประพาสตางประเทศได้ทรงทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดจากการมีไฟฟ้า พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนารถ เป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรก ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทรงโอนกิจการเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค้อคอีเลคตริกซิตี้ ชินดิเคท เข้ามาดำเนินงานต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับรถรางอีกด้วย ต่อมาทั้ง 2 บริษัทได้ร่วมกันจัดสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาอีกด้วย นับเป็นการบุกเบิกไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก
[แก้ไข] เปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา
ในปี พ.ศ. 2417 โปรดพระราชทานให้ทำธนบัตรขึ้นใช้เรียกว่า “อัฐ” เป็นกระดาษมีมูลค่าเท่ากับเหรียญทองแดง 1 อัฐ แต่ใช้เพียง 1 ปี ก็เลิกไปเพราะประชาชนไม่นิยมใช้ ต่อมาทรงตั้งกรมธนบัตรขึ้นมาเพื่อจัดทำเป็นตั๋วสัญญาขึ้นใช้แทนเงิน กรมธนบัตรได้เริ่มใช้ตั๋วสัญญาเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2445 เป็นครั้งแรกเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการผลิตธนบัตรรุ่นแรกออกมา 5 ชนิด คือ 1,000 บาท 100 บาท 20บาท 10 บาท 5 บาท ส่วนภายหลังมีธนบัตรใบละ 1 บาทออกมาด้วย รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดหน่วยเงินตรา โดยใช้หน่วยทศนิยม เรียนว่า สตางค์ กำหนดให้ 100 สตางค์ เท่ากับ 1 บาท พร้อมกับผลิตเหรียญสตางค์ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า เบี้ยสตางค์ มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ ราคม 20 สตางค์ 10 สตางค์ 4 สตางค์ 2 สตางค์ครึ่งใช้ปนกับเหรียญเสี้ยว อิฐ
[แก้ไข] ด้านการเศรษฐกิจ
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และเพื่อทำให้การเก็บภาษีอากร เพื่อบำรุงประเทศชาติ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี พระองค์โปรดให้สร้าง พอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรวบรวมเงินรายได้ของแผ่นดินให้เป็นที่เป็นทาง ไม่กระจัดกระจายไปอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีพนักงานบัญชี คอยดูแลตรวจสอบ ทางกฎหมายภาษีอากร ตราไว้เป็นพระราชบัญญัติเป็นการวางหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่ตาม สากลนิยม เพื่อตราพระราชบัญญัติการเก็บภาษีแบบใหม่ ก็ทรงค่อย ๆ ยกเลิกภาษีแบบเก่า ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร โดยโปรดเกล้าฯ ให้เทศาภิบาลเป็นผู้จัดเก็บ จึงทำให้การเก็บภาษีดีขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเก็บภาษี ทรงเปลี่ยนระบบการคลังเสียใหม่ด้วยเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นเอกเทศ แยกพระคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ และยกหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นมาเป็นกระทรวงการคลัง พร้อมโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติ เพื่อเป็นหลักในการจับจ่ายใช้สอยเงินของแผ่นดินอย่างถูกต้อง
[แก้ไข] การตั้งธนาคาร
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (พระองค์เจ้าไชยยันตมงคล) เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้รวบรวมกลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการเงิน มาร่วมกันจัดตั้งธนาคารที่เป็นของคนไทยขึ้นมาครั้งแรก ในปี พ.ศ. เรียกว่ากลุ่ม บุคคลัภย์ ดำเนินกิจการธนาคารไปด้วยดีตลอดระยะเวลา 2 ปี ต่อมากลุ่มของพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงขอพระบรมราชาอนุญาต จดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด โดยดำเนินกิจการแบบสากลแต่บริหารงานโดยคนไทยทั้งสิ้นซึ่งทำให้มีธนาคารของคน ไทยแห่งแรกเกิดขึ้นมาและดำเนินกิจการโดยคไทยทั้งสิ้น
[แก้ไข] การประปา
พระองค์ท่านทรงเห็นว่าประเทศไทยควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภคและ บริโภค เนื่องจากการใช้น้ำในแม่น้ำลำคลองอาจก่อให้เกิดโรคระบาดดังที่เป้นมาในอดีต ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กักกันน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี ทำการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องน้ำประปาให้แก่ประชาชน แต่การประปายังมิทันได้เสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
[แก้ไข] การสร้างวัด
วัดที่สำคัญในพระพุทะศาสนาของเมืองไทยในปัจจุบันนี้ มีหลายวัดที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดที่ทรงสร้างขึ้นมาใหม่รวมทั้งวัดที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ได้แก่ วัดเบญจมบพิธฯ วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางค์นิมิตร วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม (เกาะสีชัง จ.ชลบุรี) เมื่อพระองค์ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นมาและวัดเก่าแก่ที่เสื่อมโทรมนั้นพระองค์ก็ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฎ์ วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี วัดสุวรรณดาราม และพระปฐมเจดีย์ ทรงสร้างต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกจนแล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์
[แก้ไข] การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเปิดสอนให้กับประชาชนทั่วไปให้ได้รับการศึกษา กันโดยทั่วไป เพราะการศึกษาในสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังอยู่ในวัด จึงไม่ทั่วถึง เมื่อมีการสร้างโรงเรียนและเมื่อการศึกษาเจริญก้าวหน้าเท่ากับเป็การบ่งบอก ถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยมีหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ สอนวิชาให้กับผู้เข้ารับราชการ จะได้มีความรู้ในการทำงานและบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อการศึกษาได้กว้างไกลไปสู่ความนิยมของประชาชน รวมถึงได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประกอบอาชีพได้หลายทาง เมื่อการศึกษาได้เจริญมากขึ้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างโรงเรียนเพื่อสอนภาษาอังกฤษเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อมีโรงเรียนหลวงเกิดขึ้นหลายแห่งจึงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้เขียนตำราเรียนขึ้นมา เรียกว่า แบบเรียนหลวง 6 เล่ม คือมูลบรรณกิจ วาหนิติริกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ ตำราทั้ง 6 เล่มนี้พระยาศรีสุนทรโวหารเขียนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2427 และโปรดให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วยเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ ศึกษาเล่าเรียนมา และทรงโปรดให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นอีกหลายแห่งกระจัดกระจายไปตามวัด ต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัดคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บุตรหลานของประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสได้ ศึกษาหาความรู้กัน การศึกษาขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับด้วยความสนใจของประชาชนที่ต้องการมีความ รู้มากขึ้น จึงโปรดให้โอนโรงเรียนเหล่านี้ให้อู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพิมพ์ตำราสอนพระราชทาน เพื่อเป็นตำราในการเรียนการสอนด้วย
ส่วนการศึกษาของสตรีนั้น พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสตรี ชื่อว่า โรงเรียนบำรุงสตรีวิทยา ในปีพ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นโรงเรียนเพื่อสตรีแห่งแรกของประเทศไทย และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี ได้โปรดให้ตั้งโรงเรียนสตรีอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ด้วยทรงเห็นว่การศึกษาของสตรีนั้นเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเพราะโลกได้เจริญ ขึ้นไปมากแล้ว การเรียนจึงจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ว่าบุรุษหรือสตรี
[แก้ไข] การเสด็จประพาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชื่นชอบการเสด็จประพาสยิ่งนัก พระองค์ทรงเสด็จประพาสทั้งเป็นทางกาและไม่เป็นทางการ บางครั้งทรงปลอมพระองค์ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนบ้าง ปลอมเป็นขุนนางบ้าง เพื่อเสด็จดูแลทุกข์สุขของประชาชนในหัวเมืองต่าง ๆ มากมาย การเสด็จประพาสบ่อยครั้งทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายทั้งที่ดีและไม่ดี สิ่งเหล่านี้พระองค์ท่านได้นำมาพัฒนาบ้านเมืองให้เกิดความเจริญขึ้น จะเห็นได้จากที่พระองค์ทรงพระราชดำริในการเสด็จประพาสในแต่ละครั้ง
ในปี พ.ศ. 2413 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก ทรงเลือกที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปในประเทศเพื่อบ้านใกล้เคียง คือ ประเทศสิงคโปร์ และประเทศชวา ด้วยทรงต้องการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอินโดจีนด้วย และเพื่อเรียนรู้การปกครองเนื่องด้วยประเทศทั้งสองนี้ต่างก็เป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านอีก 2 ประเทศ คือประเทศอินเดีย และประเทศพม่า และเมื่อที่เสด็จไปประเทศอินเดียนั้น ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดีย เพื่อนำกลับมาปลูกในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการทำนุบำรุงพระศาสนาให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น
ด้วยในขณะนั้นประเทศในแถบอินโดจีนได้รับการรุกรานจากประเทศมหาอำนาจ จากตะวันตกและด้วยประเทศในแถบอินโดจีนนั้นเป็นปรเทศที่ด้วยพัฒนา ทำให้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจได้โดยง่า รวมถึงประเทศไทยก็กำลังต้องเผชิญกับสภาวะนี้อยู่เช่นกัน ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระองค์ในกาลนี้ พระองค์จึงตั้งพระทัยที่จะเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ มหาอำนาจเหล่านั้น
[แก้ไข] เสด็จประพาสยุโรป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2440 โดยประเทศที่ได้เสด็จประพาส คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออกสเตรเลีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ อียิปต์และเยอรมัน ทั้งนี้มีเหตุผลอยู่หลายประการในการเสด็จประพาสครั้งนี้ คือ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และร่วมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาการสู้รบกันอยู่ การเสด็จประพาสของพระองค์ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมากษัตริย์ไทย
ในปี พ.ศ 2449 พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรปอีกเป็นครั้งที่ 2 การเสด็จประพาสครั้งนี้ นำความเจริญมาสู่บ้านเมืองอย่างมากมาย ทั้งนี้มีความประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าให้ทัด เทียมกับนานาประเทศ
[แก้ไข] การปกครอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระองค์ทรงมิได้ปฏิบัติพระองค์แบบผูกขาดอำนาจแต่เพียงผู้เดียวไม่ พระองค์ทรงให้อิสระทางความคิดและทรงแต่งตั้งบุคคลเพื่อถวายความคิดเห็นแก่ พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นองคมนตรีสภาเสนาบดีสภา และรัฐมนตรีสภา พระองค์ทรงแต่งตั้งสภาเหล่านี้ เพื่อเป็นการถวายความคิดเป็นที่ปรึกษาเป็นแบบอย่างที่จะนำพาประเทศชาติให้พบ กับความเจริญรุ่งเรือง
นับว่าเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พระองค์ทรงดำริ และริเริ่มในแผ่นดินทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงน้ำพระทัยที่มุ่งหวังให้ ประเทศชาติได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับประเทศที่เจริญแล้ว แต่มิได้ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยทันที ด้วยทรงพระกังวลว่าประชาชนยังอาจไม่สามารถรับได้ด้วยยังไม่พัฒนามากนักใน ด้านการศึกษา ด้วยมีสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ก็มีความคิดของข้าราชการแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งเห็นชอบกับความทันสมัยในรูปแบบของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย แต่อีกกลุ่มหนึ่งยังคงยึดถือหลักการปกครองในแบบเก่า และได้ทรงเตือนสติให้แก่บรรดาเหล่าข้าราชการที่เข้าถวายความคิดเห็นเกี่ยว กับเรื่องเหล่านี้ว่า
“ในเมื่อมีสองฝักสองฝ่ายเกิดขึ้น จะเป็นอุปสรรคต่อสิ่งสำคัญกว่าหรือไม่ และจะเหมาะสมถึงกาลเทศะแค่ไหน โดยต้องคำนึงถึงความสามัคคีเป็นหลัก พวกที่ติดราชการในยุโรปนั้น ๆ มาถือเป็นความติดตัว มาจัดการในเมืองไทย ที่ไม่เป็นการถูกกันเลย ด้วยพื้นเพการงานทั้งปวงไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมและประเพณีก็ต่างกันเหมือนกับการที่จะไปลอกเอาตำราทำนา ปลูกข้าวสาลีในเมืองยุดรป มาปลูกข้าวเหนียว ข้าเจ้าในเมืองไทย ก็ไม่อาจได้ผลอันใด หากเราไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน หรือว่าจะเป็นความคิดอีกส่วนหนึ่ง เห็นว่าธรรมเนียมแบบอย่างอันใด จำเป็นต้องเอาธรรมเนียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อจะให้เป็นที่นับถือของคนใน ประเทศยุโรปว่าเป็นคนมีชาติมีธรรมเนียมเสมอกัน และเป็นการง่ายที่จะจัดเพราะไม่ต้องคิดแบบอย่างอันใด ยกแต่ตำราของเขามาแปลงเป็นไทย จัดการไปตามนั้นคงจะได้ผลเหมือนกับที่เขาเห็นผลมาแล้ว ถ้าหากผู้ซึ่งเข้ารับราชการปกครองรักษาแผ่ดินจะพร้อมใจกันเห็นควรจะจัดการ เปลี่ยนแปลงโดยความหักโหมนี้หมดไปด้วยกันก็นับว่าเป็นการสามัคคี แต่สามัคคีอย่างนี้ก็ไม่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือให้บ้านเมืองมีความเจริญ โดยเร็วนัก เพราะเหตุว่าจะถูกขัดขวางต่าง ๆ กีดกันอยู่มากเป็นต้นว่า ถ้าจะเลิกศาสนาที่นับถือกันมาหลายชั่วอายุคนให้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งติดอยู่ในน้ำใจของผู้ที่ตามมา แต่จะเริ่มเบื้องต้นขึ้นเท่านั้น ก็จะเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ๆ จนบางทีจะไม่ได้ทันจัดการอันใดสิ่งเดียว ผู้ปกครองที่เป็นสามัคคีหมู่นั้นจะลับไปเสียก่อน บ้านเมืองมีความเจริญแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าความสามัคคีที่ต้องการในเมืองไทยเวลานี้มีอยู่ ทางเดียวที่จะพร้อมในกันโดยทางกลาง…….”
ด้วยเช่นนี้จึงควรเตรียมความพร้อมให้กับบ้านเมืองและประชาชนเสียก่อน จึงค่อยดำเนินการใดใดลงไป
[แก้ไข] ด้านวรรณกรรม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองหนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ
1. ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ในปี พ.ศ.2421 โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโครงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
2. พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ.2431 ลงพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน
3. บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.2448 ในขณะที่ทรงพระประชวรพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
4. ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2449 เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานพดล เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้วโดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง 9 เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป
5. พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นัก วิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่างๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ
[แก้ไข] ด้านสถาปัตยกรรม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นงานศิลปที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกด้วยเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้ จ่ายในการก่อสร้างเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไรอีกทั้ง ยังทรงได้มีการเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงาม ดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้
1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง
2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตกได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน
3. พระที่นั่งจักกรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชี้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง
4. พระราชวังดุสิต
5. พระบรมราชนิเวศน์
6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม
[แก้ไข] บทสรุป
รัชสมัยอันยาวนานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหลายอย่างเกิดขึ้น ทรงยกเลิกและปรับปรุงแนวความคิดบางอย่างที่ไม่ดีแต่เดิม ให้เป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้าขึ้น การที่พระองค์ได้ทรงเสด็ตประพาสไปตามสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในพระราช อาณาจักร หรือในต่างประเทศทั้งในแถบเอเซียและยุโรป ทรงไดนำสิ่งที่พบเห็นต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมประเพณี การปกครอง เหล่านี้ มาปรับปรุงแก้ไขสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากชาวต่างประเทศในพระปรีชาสามารถว่า ทรงเป็นนักปกคลองและนักการทูตที่ยิ่งใหญ่ ทรงตัดสินพระทัยด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลถึงแม้ว่าวัฒนธรรมตะวันตกกำลังคุก คามประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นก็ตาม ทรงยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของความเจริญในประเทศตะวันตก ด้วยการยอมรับแบบแผนที่เรียกว่า ศิวิไลซ์ พระองค์ทรงใช้วิจารณญาณในการประยุกต์อารยธรรมตะวันตกให้ผสมผสานเข้ากับสังคม ไทยอย่างมีชั้นเชิง ทั้งนี้พระองค์ทรงยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระปิยะมหาราช”
และในวโรกาสที่ทรงคลองราชย์ครบ 40 ปี เสนาบดีได้ปรึกษาหารือในการสร้างถาวรวัตถุขึ้นมาถวาย โดยสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นเพื่อถวาย โดยสร้างเป็นพระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานอยู่ ณ ลานพระบรมราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นวันรัชมังคลาภิเษกด้วย
1 comment:
เว็บไรอ่า.............ดีจังข้อมูลครบ
Post a Comment