______________________________________________
A one-way ticket to trouble
An alarming number of Thai women are languishing in foreign prisons under severe penalties after carrying illicit cargo _ knowingly or otherwise _ for organized smuggling rings
- Published: 6/02/2011 at 12:00 AM
- Bangkok Post
Malee (not her real name), was working as an accountant for a manufacturer of items for gift shops when she became involved through the internet with a Nigerian man living in Bangkok. They formed a relationship and after a while took a trip together to Malaysia and Macau, and then on to Guangdong province on the Chinese mainland. Before landing in Guangzhou, the man asked her to carry a small bag for him. She was nabbed as she went through customs by Chinese immigration police when it was discovered that the bag contained heroin. After a quick trial, she was sentenced to death.
DRUG MULES: Above, Thai Shopawat Ueamduean is escorted by customs agents in Bali after trying to smuggle more than 1,200 ecstasy pills into the resort island. Above right, Filipina Icoy Betlehem Mamontong after her arrest at Suvarnabhumi airport with 4.2kg of cocaine brought from Lima, Peru.
Noi, the owner of a small beauty salon, is also on death row in a Chinese prison for the crime of heroin trafficking. Noi said she was lured by the prospect of a free trip to China to purchase clothes and gift items for a shop owned by another Nigerian man. She was also arrested at Guangzhou airport when she attempted to retrieve a large suitcase given to her by the Nigerian to check before their flight took off from Bangkok.
Both women say they were unaware of the contents of the bags the men had given them, a claim that is generally believed by the Thai Foreign Ministry. The ministry follows the cases of Thai women in China and other countries who became ''drug mules'' for West African drug syndicates and others operating in Thailand.
Ministry statistics show that 27 Thai women, aged between 20 and 35, are currently imprisoned in Guangzhou following convictions for drug trafficking. Of the 27, 13 were sentenced to death, 10 were sentenced to life imprisonment, three to 15 years in prison and one to 12 years.
INFORMANTS: Left and above left, two women working as recruiting agents for West African drug gangs supplied Thai authorities with valuable information on gang activities after they were arrested for possession of cocaine in Bangkok.
Under Chinese law, convicts on death row are detained for two or three years, while awaiting execution. The waiting period has proved a godsend for six of the women, whose sentences were recently commuted to life imprisonment for good behaviour. Seven are still under penalty of death. An Amnesty International report says that in 2009 more than 1,000 people were executed in China, which perennially leads the world in the category.
Because of the nature of their offences, the plight of those convicted is usually ignored, but Thai authorities are alarmed at the number of Thais arrested for drug trafficking not only in China, but also India, South America and a number of other countries (see table) in recent years. More than 90% of those arrested are women.
According to information gathered by the Foreign Ministry, most of these women are enticed unwittingly into their smuggling roles by the promise of a relationship, money or both. For many of the women, the chance to travel and have vastly new experiences also keeps them from looking objectively at what is happening around them.
Recruiting agents for West African drug syndicates commonly contact young women who work in bars to do the job. Many tactics are used. For example, Nigerian and Ghanaian drug dealers commonly open gift shops as a front, and ask Thai girlfriends to travel with them to China to purchase goods to supply the shops. Upon landing at a foreign airport, the drug dealer will then ask the woman to carry or pick up luggage with concealed illicit drugs, and then conveniently disassociate from her.
The woman only realises the risk she's taken if she is caught, and by then it's too late. It is believed that syndicate members sometimes tip the police off about the mule to create a commotion to allow others carrying larger quantities to pass through customs or to board flights unimpeded.
With few exceptions, the women are poor and uneducated. While they are languishing in foreign prisons, their families must send money to help them survive.
Some women are pregnant at the time of their arrest and deliver behind bars. At least one woman in Guangzhou is sick with tuberculosis and another is infected with HIV.
Last year the Foreign Ministry initiated Project Last Hope, in which officials took relatives of some of those sentenced to death in Guangzhou to visit them in jail.
Two journalists and a monk accompanied the group.
''Normally, it is difficult for relatives to visit prisoners in other countries because of financing problems and the long process involved in such requests,'' said an official. The ministry thought it was worth the trouble in this case to help educate the public about the problem and its consequences.
At about the same time, the Thai consular office in Guangzhou asked for commutation of the sentences of those on death row on the grounds that they were not aware they were acting as drug couriers.
There is a glimmer of hope in the story, as Foreign Ministry statistics show a sharp decrease in the number of Thai women arrested and convicted for drug trafficking in China in the past three years. While this might be due to more sophisticated smuggling techniques, the Office of the Narcotics Control Board (ONCB) believes it can be attributed mostly to the agency's efforts to suppress the West African drug rings.
''We have to monitor the drug syndicates closely because they always come up with innovative ideas and new routes to escape the long arm of the law, and our modern technology,'' said Sukhum Opasniputh, deputy secretary-general of the ONCB. The agency's statistics show that in 2006, 22 Thais were arrested in China for drug trafficking. That increased to 54 in 2007, but fell to eight in 2008 and stayed there in 2009. Unofficial statistics show just three arrests in 2010.
RAID IN THE NIGHT: Left and far right, drug officers and immigration officials swooped on a popular tourist area off Sukhumvit Road now commonly referred to as Soi Africa in December in a military-style operation to look for drugs. Centre, Nigerians Ifeanyi Stephen Okosa and Promise Ejiofor were arrested for drug possession in separate raids in Prawet and Bang Kapi districts of Bangkok.
In contrast to some other officials, Mr Sukhum said that many of the women who are either married to African men or are promised large sums of money are aware of what they are doing, but most are not aware of the devastating consequences if they are caught.
''They are convinced that penalties in China are not so tough if they carry only a small amount of a drug, but the fact is that those arrested for any drug-related crime face at least 10 years in prison, regardless of the amount. Sentences of life imprisonment and death are not uncommon,'' Mr Sukhum said.
He added that in India the penalty depends on the type and the quantity of the drug. Two grammes would probably be considered as being for personal consumption, while 250g indicates a commercial intent. However, the death penalty is rarely given to anyone convicted of a drug offence in India.
Mr Sukhum said that the heroin in this region is usually produced in Afghanistan rather than the Golden Triangle, as Afghanistan's yields are about 7,000 tonnes per year compared to 40 tonnes for the latter. It is usually packaged in Pakistan, and the Thai-based gangs pick it up there or in India, Nepal, the United Arab Emirates or sometimes in Bangkok. The destination for the drug is most often Guangzhou.
''It is a big port city where a large number of people from many countries work,'' said Mr Sukhum, adding that those hired to smuggle it in earn about 125,000 baht.
Mr Sukhum said that in 2006, as the number of Thai women arrested in China began increasing, Thai and Chinese authorities began working together to learn about the gangs and their trafficking methods. ''We have gotten information from prisoners that has led to searches and arrests of African drug dealers and their recruiting agents,'' he said.
Thai authorities provided their Chinese counterparts with lists of people suspected of being involved in drug-related crimes in Thailand.
This led to the arrests of many of the Thai women who were convicted on trafficking charges in China in 2007. Another breakthrough came when two Thai women who had been working as recruiting agents for the syndicates became informants after they were arrested in raids in Thailand. The women gave authorities a much clearer picture of the gangs' drug operations.
Mr Sukhum said that because of the crackdown in Thailand, the West African drug syndicates are increasingly recruiting women from the Philippines and Malaysia to carry heroin into China, and that law enforcement agencies in the three countries now hold regular meetings and work closely to exchange information.
The drop in arrests of Thai drug mules in China is not reflected in South America, however, where the drug being trafficked is usually cocaine.
''An average of 20 Thai women are arrested in South American countries each year. To be specific, 18 Thai women were arrested in 2007, 13 in 2008 and 22 in 2009,'' said Mr Sukhum.
According to the Foreign Ministry, Division of Protection of Thai Nationals Abroad, a total of 45 Thais are in prison for drug trafficking in Argentina, Brazil, Peru and Ecuador at the present time. The division did not elaborate on their sentences.
_____________________________________________
เหนือความเป็นชาติ(พันธุ์)
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com
ในยุคที่ภัยก่อการร้ายระบาดไปทั่วโลก ส่อให้เห็นชาตญาณอย่างหนึ่งที่เหมือนกันของมนุษยโลก นั่นคือ ความกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตหรือความกลัวตาย หลายประเทศที่ถือเป็นเป้าหมายขององค์การก่อการร้ายต่างก็ออกมาตรการที่คิด ว่ารัดกุมที่สุดเพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นนี้ อย่างเช่น มาตรการหลายๆอย่างของรัฐบาลอเมริกันที่กำลังใช้อยู่ในเวลานี้
จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ไม่ใช่อเมริกาประเทศเดียวที่เป็นเป้าหมายขององค์การก่อการร้าย แต่ยังมีอีกหลายประเทศ เหมือนดังเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นที่สนามบินของรัสเซีย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีคนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นความหวาดระแวงภัยจึงเกิดขึ้นโดยทั่วไปอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้
ในอเมริกามีหน่วยงานที่ทำงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคน อเมริกัน ไล่ลงมาตั้งแต่หน่วยงานระดับนานาชาติ หน่วยงานระดับชาติ ตลอดถึงหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งสามารถป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายทั้งในและนอกประเทศได้ในระดับ หนึ่ง มีการออกคำเตือนและสัญญาณเตือนเป็นระดับๆ แต่ก็ใช่ว่าคนอเมริกันเองจะปราศจากความหวาดระแวงจากภัยเหล่านี้
อเมริกันจำนวนมาก ไม่กล้าเดินทางไปยังประเทศที่เป็นปฏิปักษ์ หรือคู่ขัดแย้งผลประโยชน์กับรัฐบาลอเมริกัน
อย่าว่าแต่อื่นไกลเลย แม้กระทั่งในประเทศเอง ส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากบทบาทของเครือข่ายขององค์การก่อการร้าย ก็คือความหวาดระแวงกันเองในระหว่างอเมริกันด้วยกันก็กำลังกลายเป็นปัญหาขึ้น มาเช่นกัน
ที่เรียกกันว่า ความเกลียดชัง หรือ Hate Crime
ประเด็นแห่งความเกลียดชังกันนี้ มีมาจากหลายสาเหตุ เช่น เรื่องสีผิว ความเชื่อทางการเมือง รวมกระทั่งศาสนา
ทั้งๆที่หากว่าไปแล้ว จากประสบการณ์ในอเมริกาของผม มองย้อนกลับไป 10 ปีให้หลัง ความเข้มข้นของระดับความเกลียดชังน้อยกว่าที่เกิดขึ้นอย่างในปัจจุบัน อย่างมากก็มีเรื่อง สีผิว หรือเชื้อชาติ
แต่ตอนนี้มีประเด็นความเกลียดชังอื่นๆ เกิดขึ้นมามากมาย ไม่นับรวมแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจ ทุนนิยมแบบไม่ปรานีปราศรัย ที่เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้าให้ยกระดับความเกลียดชังให้รุนแรงมากขึ้น กระทำต่อกันแม้กระทั่งคนสีผิวเดียวกัน
หากปัจเจกชน คนใด ไม่มีสติรู้เท่าหรือไม่บรรลุวุฒิภาวะ ก็จะก่อการให้เกิดเหตการณ์รุนแรงที่น่าสะพรึงกลัว เหมือนหลายๆคดีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่าน ดังเช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่เมืองตูซอน มลรัฐอริโซน่า เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่มีนายจาเรด ลูห์เนอร์ (Jared Loughner) วัย 22 ปี เป็นผู้ต้องหา และมีอเมริกันบุคคลสำคัญกลายเป็นเหยื่อแห่งความเกลียดจากเหตุการณ์นี้ คือ นางแกเบรียล กิฟฟอร์ดส(Gabrielle Giffords) สส.ของรัฐอริโซน่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม หากจะสาวย้อนขึ้นไปก่อนหน้านี้ ในอเมริกามีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์ที่ตูซอนเกิดขึ้นจำนวนไม่ น้อย เป็นการทำร้ายหมู่ และเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในโรงเรียน หรือผู้ที่อยู่ท่ามกลางประชุมชน
ในฐานะคนไทย ในอเมริกา นอกเหนือจากความพึงสังวรณ์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว การแสดงออกซึ่งความเสียใจและเห็นใจ ในฐานะเพื่อนร่วมชาติและมนุษยชาติ เป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่ง บนความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมเชื้อชาติในประเทศใหญ่ประชากรกว่า 300 ล้านคนแห่งนี้
เพราะหากว่าไปแล้วสำหรับชุมชนไทยในอเมริกาของเรา ยังแปลกแยก หรือมีความห่างอยู่พอสมควรกับวิถี(วัฒนธรรม)อเมริกัน โดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่อย่างชุมชนไทยในนครลอสแองเจลิส
นอกเหนือจากบางเรื่อง บางประเด็นที่ผมเห็นว่า ในส่วนของคนเชื้อชาติไทยรุ่นใหม่บางกลุ่มก็ดำเนินกิจกรรมไปอย่างสอดคล้องและ เข้าใจต่อวิถีอเมริกัน ซึ่งเป็นนิมิตรหมายที่ดียิ่ง
ลูกหลานคนไทยที่นี่หลายคน เข้าไปสู่ระบบอเมริกัน มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ก้าวหน้าอย่างน่าชื่นชม ทั้งองค์กรของรัฐ องค์กรการเมือง และองค์กรเอกชน จนเราไม่รู้จะเอาพวกเขามาใช้ประโยช์อย่างไร เพราะไม่เคยสร้าง “ระบบเชื่อมต่อ” มารองรับพวกเขาในช่วงก่อนหน้านี้ ชุมชนไทย โดยเฉพาะ “รัฐไทย” หรือ “ตัวแทนรัฐไทยในต่างแดน” แทบไม่เคยคิดถึงประเด็นจำพวกนี้
ข้าราชการไทยที่ถูกส่งมาประจำหลายคน ต่างใช้สิทธิในตำแหน่งต่างๆให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง ด้วยการใช้ชีวิต พร้อมด้วยครอบครัว ช่วงหลังเกษียณที่อเมริกา บ้างผันตัวเองไปทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของแต่ละคนไม่ว่ากัน
แต่หน่วยงานประจำที่มี “ธุระกิจเกี่ยวข้อง”กับรัฐบาลและเอกชนอเมริกันในแบบประจำหรือ “แบบมีหน้าที่” อยู่แล้ว ควรจะแสดงออกบ้างไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โดยแก่นแท้แล้ว การแสดงความเห็นอกเห็นใจ ในฐานะผองเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข บนผืนดินเดียวกัน เป็นสิ่งควรน่ากระทำ เท่ากับคุณูปการแห่งผลการกระทำดังกล่าว จะเกิดขึ้นและย้อนกลับมายังชุมชนไทยและประเทศไทยของเรา ทำนองเดียวกัน
ทั้งผลในด้านความสัมพันธ์และผลพลอยได้ในเชิงธุรกิจ
ถูกล่ะ เรายังมีคนไทยไม่น้อยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือมี “แรงเสียดทาน”ในการดำรงชีวิตสูง แต่ผลแห่งเมตตาจิต ย่อมจะส่งผลในเชิงบวกแน่นอน ตามคำพูดนัยคำสอนของพุทธศาสนาที่ว่า“จิต เป็นประธาน และการจะสำเร็จได้ ก็ด้วยจิต”
จึงขออนุโมทนาต่อการจัดงานฯ ของกลุ่มคนไทยย่านแอล.เอ.และปริมณฑล ที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ แสดงออกถึงความเสียใจ เห็นใจ ต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวน 6 ราย และผู้ได้รับบาด 14 ราย ในวันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค.นี้ ในย่านไทยทาวน์ ฮอลลีวูด ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทยแคลิฟอร์เนียภาคใต้
ด้วยตระหนักตามหลักการแห่งพุทธศาสนาว่า ทุกชีวิตความอยู่เหมือนกัน มีความเป็นไปเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ผิวสีใดๆ ก็ตาม ทั้งเป็นไปตามทัศนะ หรือคติที่ถูกต้องของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกาอย่างเข้าใจ
ในหลักแห่งเมตตา ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ เท่ากับ การทำบุญอุทิศและแผ่ส่วนกุศล ก็ไม่ขึ้นกับชาติ ศาสนาเช่นเดียวกัน
จึงนับเป็นการเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ ผู้ร่วมชะตาเดียวกัน ครบ 3 ทาง คือ กาย วาจา ใจ
ชุมชนเชื้อชาติเอเชียนหลายๆแห่ง ก็แสดงออกในลักษณะดุจเดียวกันนี้มาก่อนแล้ว การจัดงานทำนองนี้ จึงน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนไทยเมืองอื่นๆ ในเมื่อที่ผ่านมามีการจัดงานทำนองเรี่ยไรเงินกลับเมืองไทยจากหยาดเหงื่อคน ไทยด้วยกันเสียเป็นส่วนใหญ่ จนกลายเป็นประเพณีไปแล้ว
เพราะจะอย่างไรเสีย ถึงแม้ว่ากิจกรรมชีวิตประจำวันหลายอย่างในอเมริกา จะเดินไปได้ด้วยแรงจูงใจจากปัจจัยที่เกิดจากทุนก็ตาม แต่เราก็คงไม่อาจปฏิเสธกับตัวเองได้ หากไม่ได้อาศัย “น้ำใจของฝรั่ง” เป็นเครื่องพึ่งพาอาศัย ชุมชนไทยเราคงปักหลักกันที่นี่ยากยิ่งกว่านี้
หลายเรื่อง บางคน บางครอบครัวคนไทยของเรา ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนอเมริกัน อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้น หากจะวิจารณ์อเมริกาในด้านลบเสียทั้งหมด ไม่มีอะไรดี ไยจะอาศัยแผ่นดินนี้ อยู่เพื่อประโยชน์อันใดเล่า?
อยู่ที่ไหนก็ตาม หากกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน รู้จักเมตตาต่อผองเพื่อนมนุษย์และสัตว์ ย่อมไม่มีวันตกต่ำ..!!
เหมือนกันทั้งนั้นแหละครับ สัพเพ สัตตา สัตว์เพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกก็ตาม
_____________________________________________
สหรัฐฯโหมโฆษณาปลาทูน่ากระป๋อง
สภาทูน่าแห่งสถาบันประมงแห่งชาติ (The National Fisheries Institute's Tuna Council) แถลงข่าวการรณรงค์ด้านการตลาด โดยใช้งบหลายล้านเหรียญฯ โฆษณาทางสื่อทีวี, สิ่งพิมพ์ และอินเตอร์เนท หวังจะเพิ่มยอดการขายและกระตุ้นความสนใจผู้บริโภคอเมริกัน โดยจะออกอากาศสปอตโฆษณา ประมาณ ๑๕-๓๐ วินาทีในรายการทีวีดังๆ อาทิ Oprah, Today และ 60 Minutes
นับเป็นครั้งแรกที่สามแบรนด์ยักษ์สินค้าปลาทูน่ากระป่องในสหรัฐฯ StarKist, Bumble Bee และ Chicken of the Sea ร่วมมือกันรณรงค์ด้านการตลาดอย่างหนัก โดยจับมือกันเพื่อทำประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดในครั้งนี้ และมีบริษัทผู้ผลิตปลาทูน่ารายใหญ่ของไทยเป็นผู้สนับสนุนเบื้องหลัง
คำขวัญในการรณรงค์คือ "Tuna The Wonderfish"
ในวันจันทร์ สปอตที่จะออก ๑๕-๓๐ วินาที จะเริ่มใน Network และ Cable TV เป็นเรื่องราว แม่บ้านชื่อ Joy ส่งเสริมปลาทูน่ากระป๋องว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด สะดวก และราคาไม่แพง โดยจะยิงสปอตในช่วงเช้าและเย็น ระหว่างรายการดังๆ เช่น Oprah, Today, 60 Minutes, Conan และ Modern Family ในสปอตดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า "Latin Lovers" Joy จะพูดว่า ปลาทูน่าเป็นแหล่งธรรมชาติของ Omega-3 และดีต่อหัวใจ สรุปด้วยคำขวัญ "Tuna The Wonderfish" และ Website : www.tunathewonderfish.com.
สปอตอีก ๒ เรื่องจะเป็นเรื่องของนักบินอวกาศ และนักกระโดดบันจี้ โดยนักบินอวกาศจะอ้าง ทูน่าเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสุขภาพ แคลอรี่ต่ำ และทำให้ลดน้ำหนักได้ ส่วนนักกระโดดบันจี้ จะพูดว่าทูน่าเป็นอาหารที่ เร็ว และเหมาะกับ Active Lifestyle
การรณรงค์ด้านการตลาดครั้งนี้ มุ่งจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคสร้างสรรและคิดเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำจากทูน่า ให้แตกต่างออกไปจากของเดิมๆ (สลัดทูน่า/แซนด์วิชทูน่า) เป็นรูปแบบใหม่ๆ เช่น Tuna Pasta, Tuna Tacos, Tuna Fajitas, Tuna Bruschetta และ Tuna Paninis
นอกเหนือจากสปอตทีวีแล้ว จะมีสิ่งพิมพ์โฆษณาในวารสารด้าน Fitness, Family และ Cooking และจะมีป้ายโฆษณา (Billboards) ใน Health Clubs และใน Website
สภาทูน่าใช้บริษัทโฆษณา Grey New York ในการพัฒนาแคมเปญครั้งนี้
StarKist, Bumble Bee และ Chicken of the Sea ได้พยายามทำการตลาดในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มยอดการขายสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง
ในอดีตปลาทูน่ากระป๋อง โดนโจมตีในปี ๒๕๔๗ เมื่อ หน่วยงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) และ หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) เตือน หญิงมีครรภ์ ผู้ดูแลคนเจ็บป่วย และเด็กเล็ก ให้จำกัดการบริโภคอาหารทูน่าอยู่ที่ ๖ ออนซ์/สัปดาห์ เนื่องจากเสี่ยงต่อสุขภาพเกี่ยวกับโรค Neurotoxin Methylmercury จากคำเตือนดังกล่าวทำให้คนอเมริกันจำนวนมากหยุดซื้อปลาทูน่ากระป๋องไปเลย หลังจากนั้นการขายปลาทูน่ากระป๋องเริ่มกระเตื้องขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เป็นที่น่าสังเกตุว่า การออกข่าวเรื่องโฆษณาปลาทูน่ากระป๋อง เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวเรื่อง Bumble Bee ถูกฟ้องขึ้นศาลไม่กี่วัน โดยผู้บริโภครายหนึ่งชื่อ Mr.Lee Porazzo จากเมือง White Plain รัฐนิวยอร์ก ได้ฟ้องต่อศาลว่า ร่างกายได้รับสารพิษ Mercury เนื่องจากการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องของ Bumble Bee แต่เมื่อนำเรื่องขึ้นศาล ข้อมูลที่ปรากฎคือ Mr. Porazzo บริโภคปลาทูน่ากระป๋องถึง ๕๓๘ ปอนด์ หรือประมาณกระป๋องขนาด ๖ ออนซ์จำนวน ๑,๔๓๔ กระป๋อง ในเวลา ๓๓ เดือน ซึ่งศาลพิจารณาว่าเป็นเรื่องไม่ปรกติของการบริโภคในปริมาณเช่นนี้ และทาง Bumble Bee ก็แก้ต่างว่า Mr. Porazzo ควรจะต้องทราบดีว่าปลาทั่วไปจะต้องมีปริมาณสาร Mercury อยู่แล้ว ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตไม่ได้ใส่เข้าไปในกระป๋อง ส่วน Mr. Porazzo โต้ว่า เขาบริโภคปลาทูน่ากระป๋องเกือบทุกวัน เพราะคิดว่าเป็นอาหารโปรตีนที่สะอาดที่สุด เรื่องนี้คงต้องดูกันต่อไปว่าจะจบลงอย่างไร
ปัจจุบันปลาทูน่ากระป๋องยังคงเป็นอาหารทะเลอันดับสองรองจากกุ้ง การบริโภคปลาทูน่ากระป๋องต่อหัว เฉลี่ย ๒.๕ ปอนด์ในปี ๒๕๕๒ โดยลดลงจาก ๒.๘ ปอนด์ในปี ๒๕๕๑ และในปี ๒๕๔๖ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีประกาศเตือนของ FDA การบริโภคต่อหัวสูงถึง ๓.๔ ปอนด์
นางสมจินต์ เปล่งขำ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
๒๑ มกราคม ๒๕๕๔
No comments:
Post a Comment