Saturday, April 9 from 4:30 pm to midnight
Sunday, April 10 from 10 am to 3 pm
@ Wat Dhammaram 7059 W. 75th St, Chicago, IL 60638
Click images to enlarge
______________________________________
Mos Live in Chicago on Saturday, April 23
Door open 11:30 pm
Showtime 1:00 am
Sanook Sushi Thai 2845 W. Irving Park, Chicago, IL 60618
Ticket price $35 before April 15
After April 15 $45 /@door
Ticket available @ BKK Video 773-728-3333
Contact Mas @ 773-818-6032
Reserve table @ Meaw 312-560-8076
NO BYOB !!! 21 & over only. Must present ID to enter.
__________________________________
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยมีการพัฒนามาตลอดระยะเวลาทศวรรษที่ผ่านมา โดยในช่วงเฟื่องฟูของเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย จะมีผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มแรกเริ่มพัฒนาจากการเป็นผู้ค้าส่ง ตั้งแต่ย่านประตูน้ำ ใบหยก โบ๊เบ๊ และค้าส่งภายในประเทศ จนขยับขึ้นมาทำการค้าระหว่างประเทศ โดยผู้นำเข้าจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกจะเช่าเหมาลำเครื่องบินมาเพื่อซื้อสินค้าจากตลาดค้าส่งเหล่านี้โดยตรง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทยพุ่งกระฉูด คือ กลุ่มโรงงานที่รับผลิตสินค้าตามแบรนด์ดังๆของผู้นำเข้า หรือที่เรียกกันว่า OEM
ปัจจุบันการเช่าเหมาลำเครื่องบินจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกได้หายไปจากสายตาของผู้ประกอบการไทย แต่กลุ่มโรงงานที่ผลิตสินค้า OEM พัฒนาตัวเองทางด้าน Logistics และ Supply Chain จนกลายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องเริ่มเคลื่อนย้ายออกไปสู่ต่างจังหวัดในเขตที่มีการได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน และในปัจจุบัน บางโรงงานย้ายฐานผลิตออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ด้านแรงงาน
ตลาดสหรัฐฯสำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก็เช่นเดียวกับตลาดอื่นๆทั่วโลก คือทะลักไปด้วยสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ทั้งไม่มีแบรนด์ และมีแบรนด์ดังๆที่ไปจ้างทำในจีนเพื่อลดต้นทุนแรงงาน สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากไทย เคยมีตัวเลฃค่อนข้างสูงในการส่งออกมายังสหรัฐฯ แต่ส่วนใหญ่เป็นการผลิตให้แบรนด์ (OEM) ทั้งเสื้อผ้าธรรมดาและเสื้อผ้ากีฬา
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์กได้ศึกษาตลาดสินค้านี้ และพบว่ายังมีอีกช่องทางหนึ่งที่จะผลักดัน SME ของไทยในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ให้สามารถส่งสินค้าเข้ามาตลาดสหรัฐฯได้ ซึ่งคือการจับคู่จัดหาตัวแทนขาย (Sale Representative/Agent) โดยการสร้างแบรนด์ของตัวเอง จึงได้ริเริ่มโครงการในปี ๒๕๕๐/๒๕๕๑ โดยสำนักงานฯพยายามหา Sales Agent และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทำตลาดแบรนด์ (Brand Marketing) เสื้อผ้าสำเร็จรูปเข้าไปให้ความรู้และเจรจาการค้ากับผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย แต่ในปีแรก เนื่องจากยังขาดประสบการณ์และความชัดเจนของทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ผลิตเอง ทำให้โครงการยังเป็นแบบกว้างๆไม่ลงลึก แต่ก็เริ่มจุดประกายให้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกตื่นตัว หันมาให้ความสนใจกับการทำ Brand Marketing ในแนวนี้
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ซี่งเป็นปีที่สองของโครงการ ความชัดเจนเริ่มมีมากขึ้น และสำนักงานฯได้คัดเลือกดีไซน์เนอร์ไทยที่ทำงานในบริษัทเสื้อผ้าแบรนด์ดังๆของสหรัฐฯ อาทิ Polo Ralph Lauren, Ann Taylor, Gap, Jones New York, TSE, Theory, The Limited, Liz Claiborne, Urban Outfitters, Haggar, Reaction by Kenneth Cole, Michael Kors, Derek Lam เป็นต้น มาเป็นกลุ่มดีไซน์เนอร์ทำงานร่วมกับบริษัทไทยที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับโรงงาน ตั้งแต่เลือกหา concept ดู Trend ช่วยจัดหาวัตถุดิบ ออกแบบ ติดต่อประชาสัมพันธ์ หา Showroom ออกงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ และนัดหมายลูกค้าให้มาชมสินค้าที่งานแสดงสินค้าและที่ Showroom
ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นปีที่สามของโครงการ มีบริษัทไทยที่เข้าร่วม ๕ บริษัท คือ
- Heart and Mind Apparel : Brand "Millions of Colors"
- Theparerg : Brand "Mali Kids"
- Pioneer : Brand "Andrew & Audrey"
- Thong Thai : Brand "Inphorm"
- Boutique New City : Brand "Switch"
โครงการเริ่มเห็นผลสำเร็จในปีที่สามโดยทุกบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ได้ Showroom และเริ่มมีการสั่งซื้อทั้งจากผ่าน Showroom และงานแสดงสินค้าถึงแม้ยอดการสั่งซื้อจะยังไม่มากนัก แต่เห็นได้ว่ามาถูกทางแล้ว
สินค้าแบรนด์ทั้ง ๕ แบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการ มีการลงพิมพ์ในวารสารด้านแฟชั่นหลายฉบับ โดยล่าสุด แบรนด์ Millions of Colors ซึ่งเป็นเสื้อผ้าเด็ก เป็นเสื้อผ้าที่ดาราดัง Jennifer Garner และ Ben Afflect เลือกซื้อให้กับลูกสาว และสวมใส่ถ่ายรูปในนิตยสาร ซึ่งเป็นการเพิ่มชื่อเสียงให้กับแบรนด์มากยิ่งขึ้น
ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ โครงการได้ปรับเปลี่ยนชื่อให้เข้ากับหลักการและวิธีการดำเนินงาน โดยใช้ชื่อว่า Fashion Network สำหรับตลาดสหรัฐฯ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์กได้เซ็นสัญญาจ้างบริษัท New York Thai Designers Group เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งถือเป็นวันเริ่ม Kick Off โครงการในปีนี้ บริษัทดังกล่าวประกอบด้วยดีไซน์เนอร์ชุดเดิมจากปี ๒๕๕๓ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำ Brand Marketing กับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการเดิม ๕ ราย และจะมีการคัดเลือกบริษัทใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๔รายในปีนี้ด้วย
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔
___________________________________
งานแสดงสินค้า CHILDREN’S CLUB 2011
The Javits Center, 655 W 34th Street, New York
๖-๘ มีนาคม ๒๕๕๔
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก ได้เดินทางไปเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า Children’s Club 2011 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ Jacob K. Javits Convention Center, New York จัดโดย ENK International LLC เป็นงานแสดงสินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า สำหรับเด็ก โดยเปิดให้เฉพาะการเจรจาธุรกิจ ประเภทของผู้ร่วมแสดงสินค้า ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีแบรนด์ของตนเอง ผู้นำเข้า Showroom ซึ่งมีการนำสินค้าแบรนด์ต่างๆ ไปวางขาย และผู้ขายส่ง ผู้เข้าชมงาน ได้แก่ ผู้นำเข้า ฝ่ายจัดซื้อจากห้างร้าน และบริษัทชั้นนำ ผู้ค้าปลีกต่างๆ รวมทั้งดีไซน์เนอร์
Children’s Club 2011 มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ากว่า ๗๐๐ ราย อาทิเช่น J brand, American Exchange Apparel, DKNY, Diesel Kid, Timberland Apparel, True Religion Brand Jeans Kids เป็นต้น ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
การเข้าร่วมงานของบริษัทไทย
ในงานนี้ มีผู้ประกอบการไทย ๔ ราย ภายใต้แบรนด์ Andrew & Audrey, Mali Kids และ Millions of Colors ผู้ผลิตสินค้าเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในโครงการ Fashion Network to U.S. Market ของกรมส่งเสริมการส่งออก (สำนักส่งเสริมการสร้างมูลค่าสินค้าเพื่อการส่งออก ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก) และอีก 1 บริษัทที่เข้าร่วมงานเอง ได้แก่ Kapital K แต่ละแบรนด์มี Showroom ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในนครนิวยอร์ก
การเข้าร่วมงานจากปีที่ผ่านมาของแบนรด์ไทย มีผลตอบรับดีขึ้นตามระดับ ถึงแม้จะต้องใช้เวลากว่า ๒ ปี เพื่อเป็นที่ยอมรับ และปรับเปลี่ยนแบบและสไตส์ของเสื้อผ้าให้ตรงตามตลาดของสหรัฐอเมริกา ในปีนี้ มีห้างสรรพสินค้าชื่อดัง Neiman Marcus สนใจที่จะนำสินค้าภายใต้แบรนด์ Millions of Colors ไปจำหน่ายในอนาคต
ปัญหาและอุปสรรค
๑. ปัญหาที่ผู้ส่งออกไทยประสบคือ การศึกษาแนวโน้มตลาด รสนิยมของผู้บริโภคและการผลิตสินค้าใน
ลักษณะ collection เพื่อตอบสนองตลาด ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจในตลาดอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่มของไทยด้วย ดังนั้น การที่จะต้องมีการจับคู่ระหว่างผู้ผลิต และผู้เชี่ยวชาญ/นักออกแบบ จึงเป็นความจำเป็นและเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ผู้ส่งออกไทยขยายตลาดสินค้าที่มีแบรนด์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้
๒. วัตถุดิบ สำหรับใช้ใน collection ฤดูหนาว จะหายากในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากฮ่องกง เกาหลี และจีน ส่วนวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น ผ้าฝ้าย สามารถหาได้จากอุตสาหกรรมต้นน้ำในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ ราคาฝ้ายสูงขึ้นเกิน ร้อยละ ๓๐ เนื่องจากหลายประเทศ ที่เป็นผู้ผลิตฝ้ายรายใหญ่ ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว เช่น อินเดีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าไม่มากก็น้อย
ความคิดเห็นของสคร. นิวยอร์ก
๑. เป็นงานที่เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มี Showroom ในสหรัฐอเมริกา หรือมี Sale Rep เพื่อเป็นตัวกลางติดต่อธุรกิจและหาช่องทางในการเจาะตลาดสหรัฐอเมริกา และต้องเข้าร่วมงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผลิตสินค้าเป็น collection
๒. สินค้าเสื้อผ้าเด็กในปัจจุบันมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่ที่จัดจำหน่ายเสื้อผ้าบุรษและสตรี หันมาทำเสื้อผ้าสำหรับเด็กมากขี้น รูปแบบและดีไซน์ของเสื้อผ้าเด็กมีวิวัฒนการที่แตกต่างออกไปจากเดิม จึงทำให้มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยมีความประสงค์ที่จะเจาะตลาดเสื้อผ้าเด็กของสหรัฐฯ จะต้องศึกษาช่องทางตลาดเป็นอย่างดี ซึ่งต้องใช้ทั้งเวลาและการลงทุน
๓. แบรนด์ไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดสหรัฐอเมริกา มีสื่อนิตยสารให้ความสนใจนำผลงานไปลงหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์ Millions of Colors ซึ่งดารา Hollywood, Ben Affleck ได้เลือกซื้อแบรนด์นี้ให้ลูกสาวสวมใส่ และมีนิตยสารถ่ายลงหนังสือมาแล้ว
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
๙ มีนาคม ๒๕๕๔
________________________________________
การลงทุนใหม่ของอเมริกันเพื่อแก้ปัญหาศก.
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com
เมื่อเดินทางไปทำธุระและเยี่ยมเพื่อนฝูงเก่าๆ หลายคนแถบฝั่งตะวันตก ทั้งที่แคลิฟอร์เนีย เนวาดาและอริโซน่า ปัญหาที่แทบทุกคนทั้งไทยทั้งฝรั่งบ่นกันคือ เรื่องความเป็นอยู่ชีวิตประจำวัน วิถีการทำมาหากินที่ยังหนืดอยู่เหมือนเดิม จากผลการพังพาบของเศรษฐกิจของอเมริกาเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว ขณะที่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการเดินทางไปทำงานและเพื่อทำธุรกิจในทุกวัน
ขณะนี้เบนซินธรรมดาในฝั่งตะวันตกขยับขึ้นมาใกล้ 4 เหรียญ หรือปั๊มบางแห่งราคาเกิน 4 เหรียญต่อแกลอนด้วยซ้ำ เป็นราคาที่น่าตกใจ เพราะเกือบจะเท่ากับราคาในช่วงที่เกิดวิกฤตพลังงาน คือ เมื่อราว 3 ปีที่แล้ว ตอนนั้น ผู้ประกอบการขนส่งในอเมริกาออกโรงประท้วงที่วอชิงตันดี.ซี.ซึ่งตรงกับช่วง ปลายๆของรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยูบุช
สามารถทำนายได้เลยว่า ราคาน้ำมันในเขตห่างไกลออกไป อย่างเช่น เขตทะเลทรายโมฮาเว่ ซานเบอนาดิโนเค้าน์ตี้ และเขตรอบนอกเมืองฟีนิกซ์ กับเมืองตูซอน ราคาเลย 4.50 เหรียญ ต่อแกลอนเข้าไปแล้วอย่างแน่นอน
ขณะที่ตัวเลขการอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ หรือเขต Southwest แถบเมืองใหญ่ของรัฐเนวาดาและอริโซน่า อย่างลาสเวกัส และฟีนิกซ์ มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี สองปีที่ผ่านมา
ปัญหาการว่างงาน คือจุดเปลี่ยนสำคัญ สถานประกอบการหลายแห่งเลิกจ้างคนงาน จึงต้องใช้เวลานานกว่าพวกเขาจะหางานใหม่ทำได้ เช่นเดียวกันกับเครื่องชี้อีกอย่าง คือ ตัวเลขแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ทะลักจากพรมแดนเม็กซิโก(ด้านใต้) ได้เริ่มลดลง
ทั้งหมดน่าจะเกิดขึ้นกับแรงงานไร้ฝีมือ (Non skill labor) เป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะนี้แรงงานที่มีฝีมือก็ได้รับผลกระทบด้วยแล้ว
สวนทางกับตัวเลขอัตราการว่างงานทั้งประเทศ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ออกมาในอัตรา 8.9 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจาก 3 เดือนที่ผ่านมา ที่อยู่สูงกว่า 9 เปอร์เซ็นต์
การลดลงของอัตราดังกล่าวนี้ ได้เพิ่มจำนวนคนเข้าในระบบงานราว 192,000 คน แต่เมื่อดูตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานที่เหลืออีกจำนวนประมาณ 13.7 ล้านคนแล้ว นับว่าปัญหานี้ยังคงเป็นปัญหาหลักให้กับรัฐบาลโอบามาต้องเร่งแก้ไขก่อน ที่เขาจะครบวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงปลายปีหน้า (2012)
หลายฝ่ายที่นี่วิจารณ์กันว่าตัวเลขอัตราการว่างงานที่ออกมาเชิงบวกนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการกลับเข้ามาทำงานตามฤดูกาลของคนอเมริกัน คือ พอพ้นช่วงน้ำแข็ง(หน้าหนาว) ก็จะมีแรงงานบางกลุ่ม บางประเภทออกมาทำงานตามปกติ
ทั้งยังมีตัวเลขที่ยังหมกเม็ดอยู่ ก็คือ จำนวนตัวเลขของผู้ที่ว่างงานเกิน 6 เดือนขึ้นไป กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และเมื่อดูจากจำนวนระยะเวลาของการทำงาน ที่ 34.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็ยังคงเดิม เหมือนเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ค่าแรงตั๋วเฉลี่ย ต่อชั่วโมงก็เพิ่มขึ้นแค่ 1 เซ็นต์ เป็น 22.87 เหรียญ
ส่วนที่ดีของประเด็นแรงงาน เห็นจะได้แก่ การที่แรงงานที่ทำงานพาร์ทไทม์ หรือทำงานไม่เต็มเวลา ได้ทำงานเต็มเวลามากขึ้น ตัวเลขของแรงงานไม่เต็มเวลาลดลงจาก 16.1 เหลือ 15.9 เปอร์เซ็นต์
เมืองที่กำลังเติบโตใหม่หลายเมือง ทั่วประเทศถูกทำนายว่า ยังเป็นช่วงขาลง และอาจต้องใช้เวลานับเป็น10 ปีกว่าที่เศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นคืนมาเหมือนเดิม ทั้งนี้เนื่องจากบรรดาเมืองเหล่านี้ไม่มีภาคส่วนงานอาชีพที่หลากหลายเพียงพอ ทำให้รายได้ของคนทำงานและรัฐบาลท้องถิ่นที่เคยได้รับลดลงอย่างที่ไม่เคยเป็น มาก่อน
ภาคส่วนของงานอาชีพที่พอจะเลี้ยงตัวเอง หรือสามารถสร้างรายได้ในอเมริกาเวลานี้ อย่างเช่น ภาคส่วนของสถาบันการศึกษา ที่ยังได้รับความสนใจจากผู้เรียนทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากหลายสถาบันฯยังมีเครดิตด้านการจัดระบบและคุณภาพการเรียนการสอนอยู่ รวมทั้งการเปิดสอนผ่านระบบออนไลน์ ที่เริ่มมีมากขึ้น นอกเหนือไปจากสถาบันหลายแห่งได้เพิ่มแรงจูงใจต่อการเข้าเรียนให้กับนักเรียน ที่มาจากทั้งในและนอกประเทศ
ฉะนั้น ขณะนี้จึงเป็นช่วงที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการไปศึกษายังสถาบันหลายๆแห่ง ในอเมริกา โดยเฉพาะสถาบันที่มุ่งตรงไปยังด้านวิชาชีพโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนการบินพาณิชย์ เป็นต้น
ในส่วนของค่าครองชีพเอง ก็ส่อแววว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน รัฐบาลอเมริกันหวาดหวั่นต่อปัญหาเงินเฟ้อในประเทศอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากการพยายามของธนาคารหรือเฟดที่จะดำเนินการควบคุมและกำกับปัจจัยที่ ถือเป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อ เช่น อัตราดอกเบี้ย ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ ซึ่งก็ถือว่าคุมได้อยู่หมัดในช่วงเศรษฐกิขาลง นั่นคือ เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์(ตัวเลขเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา)
แต่ปัจจัยใหม่ ซึ่งความจริงก็เป็นประเด็นเก่าที่เคยเกิดขึ้นกับหลายรัฐบาลอเมริกันมาก่อน หน้าที่ผ่านมา แต่กลับมาเป็นแรงกดดันต่อรัฐบาลโอบามาอย่างมหาศาล ในตอนนี้ คือ เรื่องราคาน้ำมัน อันเป็นผลจากการที่หลายฝ่ายในอเมริกาวิเคราะห์กันว่า เป็นผลพวงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศตะวันออกกลางซึ่งเป็นผู้ส่งออก น้ำมันรายใหญ่สุดของโลก
ในอเมริกานั้น ขาดอะไรหลายอย่างอาจไม่มีปัญหาเท่ากับการขาดน้ำมัน การที่ซัพพลายน้ำมันน้อยลง ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมโดยทันที
ถึงตอนนี้ฝ่ายค้านในสภาล่าง ซึ่งมีพรรครีพับลิกัน คุมเสียงข้างมากอยู่ ได้ปักหลักด่าหรือวิจารณ์รัฐบาลโอบามาผ่านสื่อ กรณีน้ำมันแพงแทบทุกวัน ทั้งจากตัว นายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภา และสมาชิกของกลุ่มทีปาร์ตี้ในพรรครีพับลิกัน หากรัฐบาลปล่อยให้เรื่องนี้คาราคาซัง ต่อไปเรื่อยๆมีหวังคะแนนของประธานาธิบดีโอบามา ที่ต่ำลงๆทุกวันอยู่แล้ว ต้องหล่นพรวดลงไปทีเดียวเป็นแน่แท้
กรณีเดียวกันนี้ สะท้อนถึงท่าทีของรัฐบาลและรัฐสภาของอเมริกัน ต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ที่ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานนำเข้ามากที่สุดของอเมริกัน
ทั้งที่ตูนีเซีย อียิปต์ และล่าสุด คือ ลิเบีย(ลิบยา)
มีการอภิปรายถกถียงกันอยู่ทั่วไป ทั้งในส่วนของชุดกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องและในส่วนของ สองสภา โดยรวม
แนวโน้มก็คือ ต้องการบีบให้ผู้นำลิเบีย โมฮัมมา กัดดาฟี ลงจากตำแหน่ง โดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะผ่านเวทีนานาชาติ(สหประชาชาติ) หรือแม้กระทั่ง โดยอเมริกาดำเนินการเอง
ทำให้ยามนี้ ลิเบีย กลายเป็นเป้าหมาย ที่รัฐบาลอเมริกันและคองเกรสให้ความสนใจมากที่สุด มีการถกกันถึงการกำหนดนโยบายตความสัมพันธ์ต่อประเทศนี้ ผ่านหน่วยงานทั้งในและนอกระบบของอเมริกันเอง
ทำให้กรรมาธิการด้านความมั่นคงของทั้งสองสภา ต้องมีการพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง ในช่วงที่มีการปรับลดงบประมาณด้านกลาโหม ที่เสนอโดยนายรอเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเองด้วยซ้ำ
หมายถึง กรรมาธิการความมั่นคงและเพนตากอนพุ่งเป้าใหม่ด้านงบประมาณ ไปที่ลิเบีย พร้อมกำหนดท่าที “เขตห้ามบิน” หรือ No fly zone กดดันรัฐบาลกัดดาฟี
จึงไม่ว่าผลจากกรณีนี้จะออกมาอย่างไร ฝ่ายอเมริกันก็ได้เริ่มลงทุนไปจำนวนหนึ่งแล้ว เช่น ล่าสุดการทำงานของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศและอวกาศ ที่รัฐเนวาดา
คงต้องดูกันต่อว่า การได้คืนผลตอบแทน ด้านเศรษฐกิจจะคุ้มค่ามากน้อยขนาดไหน จากการลงทุนของอเมริกันครานี้…
No comments:
Post a Comment