โครงการสร้างอาคารเรียน THAI-USA 1 & 2
โครงการสร้างอาคารเรียน THAI USA ทั้ง 2 แห่ง คือโรงเรียนบ้านหนองไทร และโรงเรียนบ้านฝายโบสถ์ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วทั้ง 2 แห่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 และมีพิธีรับมอบอาคารเรียนให้กับทางราชการ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯพณฯ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ได้เดินทางมาเป็นประธานรับมอบ ในวันที่ 2 มีนาคม 2553 เวลา 15.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งละ 448,187.50 บาท รวมทั้งสองแห่งเป็นมูลค่า 896,375.00 บาท ได้รับเงินบริจาคจากชาวไทยและต่างประเทศ จากสหรัฐอเมริกา แคนนาดา และประเทศไทยเป็นจำนวนเงิน 104,4880 บาท เงินที่เหลือจากการก่อสร้างประมาณ 148,505 บาท ได้นำไปต่อเติมฝาผนังอาคารเอนกประสงค์ของโรงเรียนบ้านหนองไทร เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ที่เหลืออีก 68,105 บาท ได้นำไปซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อก่อสร้างฝาผนังห้องสมุด ให้กับโรงเรียนบ้านหนองสะแกที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำโครงสร้างและหลังคาไว้แล้ว แต่ยังขาดงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างให้สมบูรณ์
ผมฉลาด บันลือภพและครอบครัว ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนโครงการ THAI USA Projects และผู้ที่สละเวลามาช่วยในการก่อสร้าง เช่น ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู นักเรียน นักการภารโรง ชาวบ้านผู้ปกครองและนักเรียน จนทำให้โครงการสำเร็จบรรลุเกินเป้าหมายที่วางไว้ถึงสองเป้าหมายดังต่อไปนี้.
1. สร้างอาคารเรียน THAI USA 1 (448,187.50 บาท )
2. สร้างอาคารเรียน THAI USA 2 (448,187.50 บาท )
3. สร้างประตู, ลูกกรงและฝาผนังอาคารเอนกประสงค์ของโรงเรียนบ้านหนองไทร (50,000 บาท )
4. สร้างประตู, หน้าต่าง, พื้นและฝาผนังห้องสมุดของโรงเรียนบ้านหนองสะแก (68,105 บาท )
5. จ่ายค่าเสื้อ THAI USA ให้กับผู้ร่วมงานสร้างโรงเรียนทั้งสองแห่ง (190 X 160) 30,400 บาท
การก่อสร้างอาคารเรียนครั้งนี้มีผู้ประเมินราคาการก่อสร้างและค่าดำเนินงาน มูลค่า 900,000 บาท ต่อหลัง ทำให้เราประหยัดค่าแรงงาน และค่าดำเนินงาน ประมาณ 451,813 บาท ต่ออาคารเรียน 1 หลัง รายละเอียดของรายรับและรายจ่ายจะนำเสนอไว้ที่ http://thaiusaprojects.wordpress.com/ หรือติดต่อได้ที่
คุณฉลาด บันลือบภพ 847-724-3342.
ฉลาด บันลือภพ
ผู้จัดตั้งโครงการและควบคุมการก่อสร้าง
ป.ล. ถ้าคุณมีเวลาช่วยเปิด web ข้างล่างนี้ด้วยครับ?
http://thaiusaprojects.wordpress.com/
__________________________________________
ในวาระดิถีปีใหม่ ๒๕๕๔ นี้ สมาคมชาวเหนือแห่งรัฐอิลลินอยส์
ขอส่งความสุขและความปรารถนาดีแด่ท่าน
เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๓ คณะกรรมการของเราได้จัดงาน
ขันโตกดินเนอร์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างศุนย์ผ่าตัดโรคหัวใจ
โรงพยาบาลลำปาง สมาคมฯ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีจิตศรัทธา
ให้ความกรุณาช่วยอุปถัมภ์การจัดงาน ทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
สมาคมฯได้มอบเงินจำนวน ๑๕๙,๖๕๘.๘๐ (หนึ่งแสนห้าหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบแปดบาท) ให้แก่โรงพยาบาลลำปาง เรียบร้อยแล้ว
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและคุณความดีที่ท่านได้กระทำนี้ บันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป
ด้วยความนับถือยิ่ง
วัชรีย์ แจ่มจันทร์
นายกสมาคมชาวเหนือแห่งรัฐอิลลินอยส์
_________________________________
พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com
ความจริงไม่ผิดไปจากความคาดหมายของผมเท่าไรนักที่เคยบอกไว้ในคอลัมน์นี้ ช่วงก่อนหน้านี้ ภายหลังการเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อต้นปี 2009 ถึง“ท่วงทำนองของความรุนแรง”ของความขัดแย้งทั้งจากภายใน(ใจ)และภายนอก ของอเมริกันชนด้วยกันเอง จนส่วนหนึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกเกลียดชัง
ส่วนหนึ่งอดทนได้ เรียกว่า มีวุฒิภาวะ ส่วนคนที่อดรนทนไม่ได้ เรียกว่า ยังอยู่ในขั้นไร้วุฒิภาวะ เหมือนนายจาเรด ลูห์เนอร์ (Jared Loughner) วัย 22 ปี ผู้ก่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นที่เมืองตูซอน มลรัฐอริโซน่า เมื่อไม่นานมานี้ อันนับเป็นเหตุการณ์ฆาตกรรมหมู่ครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในยุคปัจจุบัน ของอเมริกา
ว่าไปแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่แตกต่างไปจาก “ท่วงทำนอง”ของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นที่วัด(ไทย)พรหมคุณาราม ชานเมืองฟีนิกซ์ มลรัฐเดียวกัน เมื่อหลายปีมาแล้ว จนทำให้เราต้องสูญเสียพระสงฆ์ไทยที่ไปปฏิบัติงาน เผยแผ่พระศาสนาจำนวนหลายรูปด้วยกัน
เป็นท่วงทำนองของความรุนแรงในอเมริกา ที่เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความร้อนแรงทางการเมืองในประเทศ และความกดดันทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคนอเมริกันโดนกันแทบถ้วนหน้า
และเมื่อมีคนที่ขาดวุฒิภาวะ อย่างนายลูห์เนอร์ ผลพวงของความกดดัน จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ดังที่ทราบข่าวกันจากสื่อทั่วไป
สส.หญิง อนาคตไกล อายุ 40 ปี แกเบรียล กิฟฟอร์ดส(Gabrielle Giffords) ของรัฐอริโซน่า สังกัดพรรคเดโมแครต เกือบเอาชีวิตเกือบเอาชีวิตไม่รอดท่ามกลางดงกระสุนที่นายลูห์เนอร์เป็นผู้ ยิง และแน่นอนเธอบาดเจ็บอย่างสาหัสและร้ายแรง กระสุนพุ่งทะลุศรีษะ
ยิ่งไปกว่านั้น การกระหน่ำยิงที่เกิดขึ้นกลางประชุมชนเมืองตูซอน ทำให้มีคนเสียชีวิตถึง 6 คน รวมทั้งผู้พิพากษาและเด็กหญิงวัย 9 ขวบ ไม่รวมผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 14 คน
ไม่แปลกที่ หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทั้งตัวประธานาธิบดีโอบามา และบรรดานักการเมืองทั้ง 2 พรรค ต่างออกมาให้ความเห็นเชิงเสียใจต่อเหตุการณ์ และ ความเห็นต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับบรรดานักการเมืองอเมริกันทั้ง 2 พรรค ซึ่งหมายถึงชีวิตของพวกเขากันเอง
เพราะตอนนี้ ไม่มีใครทราบว่า จะมีคนที่อยู่ในขั้นไร้วุฒิภาวะอย่างนายลูห์เนอร์กี่คนในอเมริกา
นักการเมืองทั้งหลายที่ออกมาให้ความเห็นเหล่านี้เข้าใจและมองเห็นถึงสภาพ ที่เกิดขึ้นได้แทบไม่ต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่นางซาร่าห์ เพ-ลิน แกนนำทีปาร์ตี้-กลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัด ที่อยู่ในพรรครีพับลิกัน(GOP) ที่ไม่เพียงให้ความเห็นเชิงเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและต่อครอบครัวของ ผู้เคราะห์ร้ายเท่านั้น แต่ยังส่งสัญญาณไปถึง สมาชิกของกลุ่มทีปาร์ตี้ และกลุ่มอนุรักษ์ขั้วขวาจัดอื่นๆในอเมริกา ในการที่จะไม่สร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้น จากความกดดันทางการเมือง
แน่นอนเช่นกัน นาง เพ-ลิน ปฏิเสธถึงความเกี่ยวข้องและต้นเหตุของเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้ แต่เมื่อคนที่ถูกยิง เป็นสส.เดโมแครต นักการเมือง ฝ่ายตรงกันข้ามกับพรรครีพับลิกัน แถมยังมีจุดยืนที่แข็งขัน สนับสนุนนโยบายของนายโอบามา ตลอดมาในช่วง 2 ปีของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทำให้นางเพ-ลิน ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากสื่อและอเมริกันชน ว่าเป็นตัวต้นเหตุทางอ้อม จูงใจให้ คนไร้วุฒิภาวะ อย่างนายลูห์เนอร์ลงมือกระทำการอย่างโหดเหี้ยม
ซึ่งหากสืบสาวลงไปตอนช่วงการเลือกตั้งกลางเทอมของอเมริกา เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว สส.หญิงกิฟฟอร์ดส (3 สมัย) สามารถมีชัยต่อกลุ่มทีปาร์ตี้ ที่มีฐานแข็งมากใน รัฐอริโซน่า (แม้กระทั่งในรัฐเนวาดา ซึ่งเป็นรัฐใกล้เคียง อันเป็นเขตทะเลราย ก็เป็นเขตอิทธิพลของทีปาร์ตี้) นี้นับว่าเธอไม่ธรรมดา
การพยายามสังหารสส.กิฟฟอร์ดสที่เกิดขึ้น คงไม่อาจบอกได้ชัดเจนแน่นอนว่า การกระทำของนายลูห์เนอร์ เกิดจากสาเหตุจูงใจทางการเมืองเพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากสภาพจิตของเขาเอง ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกับผู้คนภายนอก ในขั้นที่เรียกได้ว่า “ไม่ค่อยปกติ” คือ ไม่สามารถเข้ากับผู้คนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้(จากแบคกราวด์ของเขา)
อย่างไรก็ตาม อเมริกันในภาคส่วนต่างๆก็วิจารณ์กันมากในขณะนี้ว่า ความเข้มข้นของการสู้รบทางการเมืองในอเมริการะหว่างความคิด 2 แนว เริ่มรุนแรงและก่อให้เกิดความเกลียดชังกันมากขึ้น
ความคิด 2 แนว คือ ทุนเสรีนิยมแบบดั้งเดิม และทุนเสรีนิยม ที่รัฐเข้ามามีบทบาทจัดสรรและจัดการบางส่วน
ทุนนิยมอเมริกันแบบแรก คือแนวคิดของพรรครีพับลิกัน ซึ่งหมายรวมทีปาร์ตี้ในท่าทีหรือรูปแบบขวา สุดโต่ง หมายถึงรัฐจะต้องออกไปไกลๆจากการควบคุม เน้นวินัยการคลังยิ่งยวด ขณะที่ทุนนิยมอเมริกันแบบที่สอง คือแนวคิดของพรรคเดโมแครตนั้น ให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการจัดสรรบ้างในเรืองที่ควรจัดการและจำเป็นเกี่ยวข้อง อย่างเช่น รัฐบาลโอบามา ขอจัดการบริหารระบบประกันสุขภาพของคนอเมริกันเอง และคองเกรส(ซึ่งตอนนั้นเดโมแครตคุมเสียงข้างมาก)ได้ออก(ผ่าน)กฎหมายไปแล้ว เนื่องจากเห็นว่า ผู้บริโภคอเมริกัน จ่ายค่าประกันในราคาแพง และมีคนที่ไม่มีกำลังพอที่จะจ่ายประกันกันเป็นจำนวนมาก
นอกเหนือไปจากความขัดแย้งจนก่อให้เกิดความเกลียดชังด้านสีผิว อย่างที่ผมเคยบอกไว้เมื่อช่วงหลังชัยชนะของประธานาธิบดีโอบามา กลิ่นหรือความรู้สึกในชุมชนอเมริกัน หลายๆเมืองสามารถบอกได้ส่วนหนึ่ง และ “ชุมชนลาสเวกัส” ก็ใช่ เช่นเดียวกับหลายๆชุมชน
หลายเมือง หลายรัฐออกกฎหมายให้มีการตรวจ(เอกสาร)เข้มกับชาวต่างด้าว โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นดำเนินการ จากเดิมที่ต้องเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานกลาง คือ กระทรวงความมั่นคงภายใน (Department of Homeland Security)
กระแสความเคลื่อนไหวในสภาเพื่อออกกฎหมาย ปลดปล่อยทาสแรงงาน-โรบินฮู้ด จึงไม่สามารถผลักดัน(ปลุก)ขึ้นได้อีกต่อไป แม้กระทั่งการเสนอกฎหมายสำหรับเด็กและเยาวชนโรบินฮู้ด ที่โตในอเมริกา และเป็นผู้มีความสามารถ เช่น เรียนเก่ง ช่วยเหลือชาติ ฯลฯ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าจะคลอดออกมาได้เมื่อใด
ในช่วงการโคมประโคมเชียร์ แสดงทีท่า หรือจุดยืนกันอย่างตรงๆของสื่อ ฟากอนุรักษ์นิยมอย่างสถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ ที่มีบทบาทในการหนุนพรรครีพับลิกัน และอีกหลายๆสื่อในค่ายเดียวกัน ทำให้กระแสความคิดทุนนิยมเก่า หรือกระบวนทัศน์อเมริกันแบบดั้งเดิมถูกรื้อฟื้นขึ้นมา นับแต่ช่วงปี 2008 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ผ่านมา
นักข่าวและพิธีกรข่าว จากสถานีโทรทัศน์หลายช่อง รวมทั้งซีเอ็นเอ็น ถูกช่องฟ็อกซ์ซื้อตัวไป ในสนนราคาค่าจ้างที่สูงกว่าช่องอื่นๆ
กอรปทั้งผู้สนับด้านการเงิน ซึ่งหมายถึงทุนโฆษณาข้างฝ่ายอนุรักษ์ ที่เป็นบรรษัทอเมริกันขนาดใหญ่มีจำนวนมาก ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผย ทำให้ฟ็อกซ์ โตวันโตคืน
อย่างไรก็ตาม คงไปโทษฟอกซ์เสียทั้งหมดไม่ได้ ในเมื่อกฎกติกาของระบบทุนมีอยู่ว่า ผู้เข้มแข็งกว่าเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ นโยบายหรือแนวทางของฟอกซ์ หากไม่มีใครสนับสนุน คงอยู่ไม่ได้ในขณะเดียวกัน นั่นแสดงว่ามีคนอเมริกันจำนวนมากหนุนและดูช่องฟ็อกซ์ ขณะที่ทีวีช่องอื่นๆ ต่างอ้างจุดยืน “เป็นกลาง”กันแทบทั้งหมด ไม่มีช่องไหนกล้านำเสนอและประกาศจุดยืน กันแบบตรงๆ
ผลของกระแสตอบรับต่อฝ่ายอนุรักษ์ฯ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความสามารถของสื่ออย่างฟ็อกซ์สามารถวัดได้จากผลการ เลือกตั้งสมาชิกคองเกรสเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว รีพับลิกัน นำหน้าเดโมแครตด้วยจำนวนสมาชิก เข้าเส้นชัยแบบถล่มทลาย ซึ่งสมาชิกกลุ่มทีปาร์ตี้ก็รวมอยู่ในนี้
กรณีของลูห์เนอร์ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมของการเมืองอเมริกันที่กำลังขับเคี่ยว ปลุกปั่น(กระแส) โดยมีเรื่องเศรษฐกิจรวมอยู่ในนั้นด้วย จนทำให้ความเกลียดชังหยั่งรากลึก โดยไม่รู้ตัว
เมื่ออเมริกันใดก็ตาม เกิดอาการไร้วุฒิภาวะเชิงปัจเจก ก็เสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ได้ตลอดเวลา…
No comments:
Post a Comment