Friday, February 25, 2011

Thai News 2-25-11

Stories from a Thai and Lao Interpreter

From the Author: Benjawan Poomsan Becker

After working for many years writing books for English speakers to learn Thai and Lao, I’m finally able to tell my life story with my new book, The Interpreter’s Journal.

Most people know me as a teacher of the Thai language and as the author of Thai and Lao language books. In the United States I have another flourishing career as a legal and medical Thai and Lao interpreter. I work in the courts, law offices, jails, hospitals, mental health facilities, and I’m also employed by businesses and corporations mainly in the State of California.

I’ve worked on over 2,000 cases over the past 15 years and assisted thousand of immigrants from Thailand and Laos. I have helped hundreds of Thai-Western couples who ended up in the legal system maze.

Follow my very personal journey starting in Thailand, the Land of Smiles. See how the influence of my family, Thai culture, Buddhism, meeting foreigners in Thailand, traveling abroad and living in the United States formed the catalyst for me to master several languages, become a professional interpreter and write numerous books on learning the Thai and Lao languages.

I recommend that lawyers, judges and other legal professionals read this book since it will help them understand how interpreters work and provide insight that should make any case with an interpreter proceed more smoothly.

There are 22 easy-to-read chapters in this book. Many can be read separately and out of order, depending on what you are interested in. However, it’s recommended that you read them in order, especially the first six chapters, to understand my personal background. The table of contents has been coded to help you find the chapters you want to read first.

This book does not explain details of particular cases, or describe any cases that are pending. Some names and locations have been changed, and the content does not invade anyone’s privacy or violate any copyrighted materials. All names of individuals in this book have been changed to protect their identity and privacy, except those for which permission has been granted.

I hope you will find this book both entertaining and educational.

-Benjawan
http://benjawanbecker.blogspot.com/

Available Now at http://www.amazon.com/

Also Available Now at http://www.paiboonpublishing.com/


SAMPLE CHAPTERS
TABLE OF CONTENT
  • Acknowledgments  
  • Why The Interpreter’s Journal?
  • From The Author  
  • How It Started (P)
  • Family Life In Thailand (P)
  • Life In The Village (P)
  • Mom’s Place (P)
  • Two Influential Americans (P)
  • Khon Kaen Via Kobe (P)
  • Going To America (P)
  • Going To Court (I)
  • Thai & Lao Language Services (I)
  • Thai And Lao People In America (S)
  • Understanding Cultures (S)
  • Thai-Western Relationships (S)
  • My Own Intercultural Relationships (P)
  • Family Matters (I)
  • Criminal and Civil Cases (I)
  • Immigration Matters (I)
  • Other Assignments (I)
  • Mistakes And Misinterpretations (I)
  • Giving Back (P)
  • Trips To Thailand (S)
  • Studying Foreign Languages (S)
  • What Happened Next (P)
  • Glossary
  • About Benjawan’s Published Works
Key to Chapter Content

P Personal – Benjawan’s personal story
I Interpreting – How interpreters work
S Social – Thai-Western relationship stories,
Thailand, Thai and Lao people, languages


Why The Interpreter’s Journal?

The Interpreter’s Journal is the first memoir by a professional interpreter, providing a revealing account of work carried out in legal settings including courtrooms and jails. The story is also a personal one, relating the author’s journey from humble beginnings in rural Thailand to become a professional interpreter in the San Francisco Bay Area.

Earthquakes in Haiti, tsunamis in Thailand, war in Iraq – all of these devastating events, and others, raise the need for interpreters. Immigrants to the United States, the FBI, Interpol, international aid workers, and travelers needing emergency surgery in Russia or Brazil – all require the services of a good interpreter.

Adoption agencies and parents wishing to adopt children from another country; architects and engineers involved in projects overseas; international banking and financial institutions; companies with foreign manufacturing plants or joint ventures with foreign partners; US military personnel serving abroad; travelers and long distance romantics – all may need the assistance of interpreters.

The responsibilities and importance of interpreters has increased so dramatically that they are now indispensable to many agencies and institutions such as law enforcement, judicial systems, social services, hospitals, and schools. Gone are the days when everyone around you spoke the same language.

Learn how interpreters work, the challenges they face and how to work with them by following the author’s very personal journey starting in the Land of Smiles. See how the influence of her family, Thai culture, Buddhism, meeting foreigners in Thailand, traveling abroad and living in the United States formed the catalyst for the author to master several languages, become a professional interpreter and write numerous books on learning the Thai and Lao languages.

This book is an entertaining and informative read for legal professionals, those who work with interpreters, expats living in Thailand and Laos or anybody who simply enjoys a good read.

Some people will be attracted to the personal experience of the author, the background information on Thailand and Thai and Lao people, while others will be drawn to the Thai-Western relationships descriptions. Still others will be engrossed by the author’s first hand accounts of working within the legal system in the United States and the practical and useful information she imparts.

The experiences of interpreters described in this book are applicable to any country where there are cultural or language differences and people need to make themselves understood.

______________________________________

จุดเปลี่ยนยุทธศาตร์ จีน-อเมริกา

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ : piralv@yahoo.com

ท่ามกลางจำนวนทรัพยากรโลกที่มีอยู่เท่าเดิมและอย่างจำกัด จนก่อให้เกิดการแย่งชิงแข่งขันซึ่งกันละกันมากขึ้น รวมทั้งภัยทางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ให้ช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศในโลกต่างเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการทหารมากขึ้นเพื่อป้องกันตนอง ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและเสริมสร้างความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชาติมหาอำนาจที่มีอยู่เดิม หรือชาติมหาอำนาจเกิดใหม่ก็ตาม

น่าสนใจว่า ชาติมหาอำนาจเกิดใหม่ในเอเชีย อย่างเช่น จีนและอินเดีย ต่างเร่งเสริมสร้างศักยภาพทางด้านทหารอย่างเต็มพิกัด ด้วยเหตุแห่งฐานทรัพยากรและประชากร ทำให้ทั้ง 2 ชาติก้าวขึ้นมาอยู่ในระดับคู่แข่งของชาติมหาอำนาจเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาและ ชาติอื่นๆที่มีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในมือ ก่อนหน้านี้

อาจกล่าวได้ว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ยุทธศาตร์ด้านความมั่นคงของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การครอบครองทรัพยากรด้านต่างๆ อาศัยกำลังทางทหารเพื่อต่อรอง การกำหนดจุดยุทธศาตร์การป้องกันประเทศ เป็นเรื่องที่แต่ละประเทศมหาอำนาจและหลายประเทศให้ความสำคัญ และอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่

อเมริกา ก็เช่นเดียวกัน โดยมีเป้าอยู่ที่จีน ขณะที่ก่อนหน้านี้เป้าหมายสำคัญทางยุทธศาตร์อยู่ที่รัสเซีย

แม้ว่า ประเทศคู่การค้าสำคัญของอเมริกาเองในเวลานี้ก็ คือ จีน เช่นกัน แต่เทียบกับเป้าหมายด้านความมั่นคงแล้ว กลับกลายเป็นคนละเรื่อง

กระทรวงกลาโหมหรือเพนตากอนของอเมริกา ที่มีนายรอเบิร์ต เกทส์ เป็นหัวหน้า ได้ดำเนินการหลายช่องทางในสิ่งที่เขาเรียกว่า “การสร้างสมดุลด้านความมั่นคงในภูมิภาค” ที่ดูเหมือนจีนจะคุกคามและครอบครองพื้นที่ของโลกในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จำกัด(บล็อค)พื้นที่แต่เดิมของอเมริกาและชาติพันธมิตรลง ดังเช่น กรณีที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก แทบทั้งแถบ การแข่งแย่งดินแดน เขตน่านน้ำ เหนือหมู่เกาะต่างๆ

ที่สำคัญ คือ การครอบครองพื้นที่ทางด้านยุทธศาตร์ที่เกี่ยวพันด้านการทหาร โดยระบบขีปนาวุธพิสัยกลางถึงพิสัยไกล และระบบดาวเทียมสื่อสารที่ทันสมัย สืบข้อมูลซึ่งกันและกัน

เหมือนเช่น ล่าสุดจีนได้พัฒนาแสนยานุภาพของขีปนาอาวุธที่เรียกว่า Dong Feng 21D หรือ DF21D ซึ่งสามารถทำการยิงได้ไกลในระยะ 1,500 กิโลเมตร(ประมาณ 900 ไมล์)

เรื่องนี้ ทำให้กองทัพเรืออเมริกัน ต้องปรับเปลี่ยนระยะแล่นและจอดของเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่มีฐานจอดอยู่ที่ท่าเรือด้านใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ออกห่างจากรัศมีทำการของขีปนาวุธดังกล่าว ลึกเข้าไปในเขตน่านน้ำสากลมากขึ้น

นอกเหนือไปจากการที่กองทัพจีน ได้พัฒนาเครื่องบินล่องหน(ลอดเรดาห์)สนับสนุนปฏิบัติของกองทัพเรือด้านชาย ฝั่งแปซิฟิก ส่งและติดตั้งระบบดาวเทียม ยึดพื้นที่ทับซ้อนนอกฝั่ง นัยว่าเพื่อบีบให้กองทัพเรือ รวมทั้งเครื่องบินของอเมริกันถอยห่างจากชายฝั่งของจีนมากขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว กองทัพเรือจีนได้เคยทดสอบปฏิกิริยาของกองทัพอเมริกาและพันธมิตรญี่ปุ่น ด้วยการนำกองเรือเล็ก เรือดำน้ำ พร้อมอาวุธประจำการ จำนวน 10 ลำ วิ่งผ่านช่องแคบมิยาโกะ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่นต่อปัญหาการอ้างสิทธิ์ครองครองหมู่ เกาะในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งยังตกลงกันไม่ได้

ผู้บัญชาการกองเรือรบที่ 7 ของอเมริกา Scott Van Buskirk บอกล่าสุดว่า การปรับเป้าทางยุทธศาตร์ของจีนที่เกิดขึ้น ทำให้กองทัพอเมริกา ต้องคงกองกำลังไว้ที่ญี่ปุ่นในหลายๆพื้นที่ อย่างน้อยก็จำนวนเท่าเดิมรวมทั้งเขตทหารอย่าง โอกินาวา ที่ชาวญี่ปุ่นเคยประท้วงขับไล่ แต่ขณะนี้ประชาชนญี่ปุ่นเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าการดำรงอยู่ของกองทัพอเมริกัน ช่วยในเรื่องการป้องกันภัยคุกคามและเพิ่มอำนาจต่อรองกับฝ่ายจีน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เกิดข้อกังวลต่อกองทัพอเมริกัน เนื่องจากจีนให้กองทัพเรือทุกชาติ อยู่จากชายฝั่งของจีนไม่ต่ำกว่า 18,000 กิโลเมตร ทำให้แผนการสอดแนมหรือเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางลับของฝ่ายอเมริกัน ทำได้ยากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของไต้หวัน หรือเกาหลีเหนือ

กรณีของไต้หวัน เมื่อจีนกำหนดเป้าหมายการป้องกันด้านทหาร ออกมาเช่นนี้ สถานการณ์ก็ถึงจุดเปลี่ยนเช่นกัน ทำให้การคุ้มครองและอิทธิพลของฝ่ายกองทัพอเมริกันอ่อนลง อย่างน้อย ก็ว่าด้วยเรื่องระเบียบพิธีการผ่านน่านน้ำ

แสดงให้เห็นว่า จีนเริ่มใช้นโยบายบีบทางด้านทหาร ต่อไต้หวัน เพื่อลดอิทธิพลของกองทัพอเมริกัน(ซึ่งหนุนรัฐบาลไต้หวัน) ในเขตน่านน้ำทะเลจีนลง

ส่วนเกาหลีเหนือนั้น ถูกจีนใช้เป็นบัพเฟอร์ โซน(Buffer Zone) เพื่อรับแรงปะทะจากเกาหลีใต้และฝ่ายอเมริกันเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้บัญชาการ Van Buskirk นั้น รับผิดชอบต่อกองทัพเรืออเมริกัน ราว 60-70 ลำ ลูกเรือและนาวิกโยธินราว 40,000 คน ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย

ท่าทีที่เป็นกังวลของฝ่ายอเมริกัน ต่อการปรับยุทธศาตร์ชายฝั่งตะวันออกใหม่ของจีน ทำให้เมื่อเร็วๆนี้ เพนตากอนมีการพิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการเชิงยุทธศาตร์ในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกใหม่ รวมทั้งการเซ็ตพิกัดอาวุธและเป้าหมาย ในแต่ละฐานที่มั่นหรือแต่ละฐานทัพ ตามเกาะหรือสถานที่ต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย

รวมทั้งฐานประจำการและควบคุมอาวุธพิสัยไกลในเขตรัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐเนวาดา และรัฐอลาสก้าที่อยู่ด้านเหนือสุด

แม้ ผบ. Van Buskirk จะบอกว่า จีนยังต้องเตรียมการด้านต่างๆ เกี่ยวกับระบบอาวุธและด้านทหารอื่นๆอีกมาก แต่จากปฏิกิริยาของกองทัพและรัฐบาลจีนที่ส่งถึงนานาชาติ และส่งถึงอเมริกาโดยตรง นับว่าเป็นเรื่องที่สมควรกังวลไม่ใช่น้อย

วิเคราะห์กันในฝ่ายอเมริกันว่า หลังจากจีนสามารถควบคุมทะเลตะวันออกได้มากขึ้นแล้ว ก็จะขยับลงมาหาผลประโยชน์ในเขตทะเลจีนใต้ต่อไป ยาวถึงเวียดนาม ตลอดเขตเชื่อมต่อหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งหมายถึงการเข้ายึดครอง อ้างสิทธิ์ในเขตทะเลที่มีรัศมีห่างจากเกาะต่างๆที่สามารถอ้างได้โดยการใช้ กำลังทหาร ด้วยเหตุที่ปริมาณความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะด้านพลังงานของจีนสูงมากขึ้น ตามขนาดการเติบโตของเศรษฐกิจ

เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพลังงานจะสูงมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะทรัพยากรทางทะเล ซึ่งยังถือว่ามีการสำรวจน้อยกว่าทรัพยากรจากแหล่งอื่นๆ

นี้เอง จึงเป็นเหตุให้กองทัพอเมริกันในบริเวณใกล้เคียงและที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศ พันธมิตร ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาตร์ รวมทั้งกระบวนการงานข่าวสาร สอดแนม ที่ผ่านมาดาวเทียมจารกรรมได้ถูกกองทัพอเมริกันส่งขึ้นไปหลายดวง พร้อมเล็งเป้าที่จีนและเขตแปซิฟิก

ทำให้ภาพที่เห็นในขณะนี้ เป็นการประจันหน้าในแบบที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างกองทัพจีนกับกองทัพอเมริกัน

จากรายงานการศึกษาและวิจัยของสมาชิกคองเกรสบางคนเกี่ยวกับภัยคุกคาม นอกเหนือจากการก่อการร้ายจากโลกอาหรับแล้ว จีน เป็นประเทศที่น่าจับมองอย่างน่ากังวลสำหรับอเมริกัน ถึงกับมีการนำเสนอความเห็นในกรรมาธิการการทหารของคองเกรส ภายใต้ยุทธศาตร์เดียวกับการต้านการก่อการร้าย คือ “บล็อคข้างนอก(ประเทศ)เสียก่อน ก่อนภัยจะถึงตัว”

ขณะที่จีน เดินทัพเข้าใกล้อเมริกามากขึ้นทุกวันๆ.

_________________________________________

สรุปการค้าไทย-สหรัฐฯ เดือนมกราคม –ธันวาคม ๒๕๕๓
การนำเข้าของสหรัฐฯจากทั่วโลกและจากไทย


สหรัฐฯนำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๑,๙๑๒,๐๙๑.๖๓ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๒๒.๖๐ และนำเข้าจากไทยมูลค่า ๒๒,๖๘๖.๕๓ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๑๘.๘๙
สหรัฐฯนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ ๑๙ ของการนำเข้า โดยคิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ๑.๑๙% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้า ๑.๒๒%
การส่งออกของสหรัฐฯไปทั่วโลกและไปประเทศไทย
สหรัฐฯส่งออกไปทั่วโลกมูลค่า ๑,๒๗๗,๕๐๓.๙๓ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๒๐.๙๗ และส่งออกไปไทยมูลค่า ๘,๙๗๔.๔๕ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๒๙.๗๒
สหรัฐฯส่งออกไปไทยเป็นอันดับที่ ๒๘ ของการส่งออก โดยคิดเป็นสัดส่วนการส่งออก ๐.๗๐% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก ๐.๖๖%
ดุลการค้าของสหรัฐฯกับทั่วโลก และกับประเทศไทย
สหรัฐฯขาดดุลการค้ารวมมูลค่า ๖๓๔,๕๘๗.๖๙ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๒๖.๐๑ และขาดดุลการค้ากับไทยมูลค่า ๑๓,๗๑๒.๐๘ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี ๒๕๕๒ ร้อยละ ๑๒.๗๓


No comments: