Tuesday, February 5, 2013

พม่า - แหล่งอาหารทะเลใหม่

พม่า - แหล่งอาหารทะเลใหม่ที่ผู้นำเข้าทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ

การปฏิรูการส่งออกและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล สร้างโอกาสใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลของพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตได้เป็นอันดับ 18 ของโลกในขณะนี้

ความต้องการอาหารทะเลที่เพิ่มขึ้นของทั้งภูมิภาคและทั่วโลก ทำให้พม่ามีโอกาสดีที่จะสร้างอุตสาหกรรมสินค้าปลา Tilapia และการเลี้ยงปลาสายพันธ์อื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Sea Bass
การปฏิรูปเศรษฐกิจและค่าจ้างแรงงานต่ำจะช่วยให้สินค้าอาหารทะเลของพม่ากลับไปมีอัตราการเจริญเติบโตที่ 25%/ปีได้อีก อย่างไรก็ตาม พม่ายังมีปัญหาอีกหลายด้าน อาทิ สาธารณูปโภคด้านโครงสร้างขั้น พื้นฐานและการขาดแคลนพลังงาน

การส่งออกอาหารทะเลของพม่ามีปัญหาเรื้อรังมานานเรื่องการเก็บภาษีส่งออก 12% ซึ่งได้ลดลงไปเหลือ 2% เรียบร้อยแล้ว ในอดีตที่ผ่านมาการส่งออกจะมุ่งไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่นบังคลาเทศ และตะวันออกกลาง และเร็วๆนี้เริ่มมีการส่งออกไปประเทศจีน
การเพิ่งเริ่มเปิดประเทศของพม่า หลังจากถูกปล่อยให้โดดเดี่ยวโดยซีกโลกตะวันตกมานาน ทำให้พม่าเป็นที่หมายตาของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือ ไทยและจีน การที่เป็นความสนใจของนักลงทุนต่างชาติจะทำให้ค่าเงินของพม่าดีขึ้นและอาจเป็นอุปสรรคในการแข่งขัน แต่การทำเขตการค้าเสรีระหว่างจีน-อาเซียน ซึ่งพม่าเป็นสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยนั้น จะทำให้พม่าส่งสินค้าไปขายจีนได้มากขึ้น
สินค้าอาหารทะเลที่มีศักยภาพในอนาคตของพม่านอกจากปลา Tilapia และ Sea Bass แล้ว ก็คือ กุ้งกุลาดำ และกุ้งขาว (Vannamei) แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่คือ เทคโนโลยี่ ความรู้ และการควบคุมโรค ในการทำฟาร์มกุ้ง

ประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของอาหารทะเล คาดการณ์ว่าในปี 2556 จะมีการนำเข้าอาหาร ทะเลจากพม่าสูงขึ้นมาก นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว สหรัฐฯและประเทศอื่นๆก็กำลังมองหาแหล่งอุปทานของอาหารทะเล เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอุปทานของสินค้า กุ้ง และปลาเลี้ยง เช่น Tilapia ซึ่งผลผลิตของพม่าในปี 2554 มี 4.1 ล้านตัน และในปี 2555 มี 4.5 ล้านตัน สหภาพยุโรปตัด GSP พม่าในปี 2540 เนื่องจากปัญหา แรงงานบังคับ และในปี 2552 สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าสินค้าอาหารทะเลทั้งหมดจากพม่า และเพิ่งเปิดอนุญาตให้นำเข้าอาหารทะเลจากธรรมชาติเมื่อปี 2553 แต่ยังคงห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากฟาร์มเลี้ยง

ถึงแม้พม่าจะผลิต ปลา Tilapia, Grouper, Pangasius และอาหารทะเลอื่นๆ แต่สินค้าที่ทำกำไรให้มาก ที่สุดคือ กุ้ง แต่อุตสาหกรรมฟาร์มกุ้งของพม่าได้พังทลายไปแล้ว และจำเป็นต้องมีการรื้อฟื้นกันใหม่ 

สาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายไปโดยภัยธรรมชาติ และขาดเงินทุนที่จะบูรณะการผลิตขึ้นมาใหม่ พม่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและจากหน่วยงานไม่แสวงกำไร (NGO) เพื่อช่วยเหลือเรื่องนี้

รัฐบาลพม่าเองจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องการทำฟาร์มกุ้ง ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ เรื่องกระแสไฟฟ้า ถ้าไม่มีให้ คนทำฟาร์มกุ้งต้องใช้น้ำมันดีเซล และทำให้ยากที่จะผลิตสินค้าที่แข่งขันได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก

ที่มา : Seafoodsource.com
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

No comments: